กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7826
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorบำรุงศักดิ์ เผื่อนอารีย์
dc.contributor.advisorสุกัญญา เจริญวัฒนะ
dc.contributor.advisorโรจพล บูรณรักษ์
dc.contributor.authorสมจินต์ เกิดโภคา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:08:02Z
dc.date.available2023-05-12T06:08:02Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7826
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการฟื้นตัวทั้ง 4 รูปแบบ ที่ส่งผลต่อปริมาณกรดแลคติกในเลือดอัตราการเต้นของหัวใจและสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ภายหลังจากการทดสอบวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ (Repeated sprint test) ในนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ สโมสรชลบุรี เอฟ.ซี. จำนวน 9 คน (อายุ 20±0.00 ปี น้ำหนัก 66.52±3.50 กิโลกรัม สูง 171.88±3.82 เซนติเมตร และการใช้ออกซิเจน 62.40±0.42 มิลลิโมลต่อกิโลกรัมต่อนาทีกลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ เพื่อประเมินค่าสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและแอนแอโรบิกจากค่าดัชนีความเมื่อยล้า (เปอร์เซ็นต์) จากนั้นกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการทดลองโดยใช้การฟื้นตัวทั้ง 4 รูปแบบ และมีระยะเวลาของการทดลองในแต่ละรูปแบบห่างกัน 3 วัน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนทำการทดสอบวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ และตามด้วยรูปแบบการฟื้นตัวทั้ง 4 รูปแบบ คือ รูปแบบ A การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ระดับความหนัก 30-40 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด 10 นาทีร่วมกับการแช่น้ำเย็นอุณหภูมิที่ 11-15 องศาเซลเซียส 10 นาที รูปแบบ B การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ระดับความหนัก 50-60 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด 10 นาทีร่วมกับการแช่น้ำเย็นอุณหภูมิที่ 11-15 องศาเซลเซียส 10 นาที รูปแบบ C การแช่น้ำเย็นอุณหภูมิที่ 11-15 องศาเซลเซียส 20 นาที และรูปแบบ D วิธีการยืดเหยียดแบบ ปกติของทีม ปริมาณค่ากรดแลคติกได้จากการเจาะเลือดบริเวณหูภายหลังจากการทดสอบวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ ภายหลัง 3 นาทีและภายหลังจากการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรมในแต่ละรูปแบบอัตราการเต้นของหัวใจถูกวัดต่อเนื่องตลอดการทดลองและค่าดัชนีความเมื่อยล้า (เปอร์เซ็นต์) ได้มาจากการทดสอบวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ ภายหลังจากสิ้นสุดการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรมในแต่ละรูปแบบ นำผลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA for repeated measures with testing time) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ Tukey กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดัย .05 ผลการวิจัย พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจมีค่าเฉลี่ยที่ (69.67±3.04, 70±4.23, 71.33±3.31, 68.44±2.57 ครั้งต่อนาที) และดัชนีความเมื่อยล้ามีค่าเฉลี่ยที่ (0.12±1.24, 0.14±1.23, 0.12±1.42, 0.08±1.37 เปอร์เซ็นต์) หลังสิ้นสุดการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรมใน 4 รูปแบบ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ปริมาณกรดแลคติกภายหลังการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (1.48, 178.86) = 126.6, p < 0.01) โดยรูปแบบ B ซึ่งเป็นการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรม การเคลื่อนไหวที่ระดับความหนัก 50-60 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด 10 นาทีร่วมกับการแช่น้ำเย็นอุณหภูมิที่ 11-15 องศาเซลเซียส 10 นาที สามารถลดปริมาณกรดแลคติกได้สูงสุด (B = 86.6 เปอร์เซ็นต์) เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรมภายใต้รูปแบบอื่น ๆ (A = 66.6 เปอร์เซ็นต์, D = 37.6 เปอร์เซ็นต์, C = 3.15 เปอร์เซ็นต์) ผลการทดลองที่ได้จากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า กลยุทธ์ของการฟื้นสภาพแบบมีกิจกรรมที่ระดับความหนักที่เหมาะสมคือที่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจ สูงสุดร่วมกับการแช่น้ำเย็นที่อุณหภูมิ 11-15 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับการฟื้นสภาพของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพทั้งในช่วงของการฝึกซ้อมและภายหลังการสิ้นสุดการแข่งขัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectอัตราหัวใจ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subjectHealth Sciences
dc.subjectหัวใจ
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการฟื้นตัวที่แตกต่างกันที่มีต่อกรดแลคติก อัตราการเต้นหัวใจ และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกในนักกีฬานักฟุตบอลอาชีพ
dc.title.alternativeEffects of different recovery techniques on blood lctte, hert rte nd nerobic performnce in professionl footbll plyers
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to compare effects of four active recovery techniques on blood lactate clearance, heart rate and fatigue index after repeated sprint in professional soccer players. A purposive sampling group by the power of tests not less than 0.8 and a similar maximum oxygen consumption (V º O2max) from Yo-Yo Intermittent Recovery Test level 2 were included in this study. Nine professional soccer players from Chonburi football club (20 ± 0.00 yrs, weight 66.52 ± 3.50 kg, height 171.88 ± 3.82 cm and Vº O2max 62.40 ± 0.42 ml/kg/min) participated in this study. Subjects completed initial repetitions repeated sprint test to evaluate aerobic and anaerobic fitness components by using fatigue index (%), Subsequently, four experimental session with 3 days intervals between session were organized during in season soccer training period. Each subject completed repeated sprint test follow by 4 recovery techniques (A, B, C and D): A) a combine recovery consisting of 10 min active cycling (30-40% HRmax) and 10 min cold water (11-15 Cº) immersion B) a combine recovery consisting of 10 min active cycling (50-60% HRmax) and 10 min cold water (11-15 Cº) immersion C) 20 min of cold water (11-15 Cº) immersion and D) 20 min of stretching. Blood lactate values 3 min after repeated sprint test and at the end of recovery were collected from the earlobe. Heart rate was recorded continuously during the experimental conditions. Post repeated sprint test was adopted in determining fatigue index after an each active recovery protocol. An ANOVA repeated measures with testing time (Pre-post) as within-factor and recovery techniques (A, B, C, and D) as between-factor were applied. When a significant interaction was obtained, a Turkey post hoc analysis was used to identify differences between means. Statistical significance was accepted at p<.05. The result were finding heart rate (69.67 ± 3.04, 70 ± 4.23, 71.33 ± 3.31, 68.44 ± 2.57 beat/min) and fatigue index (0.12 ± 1.24, 0.14 ± 1.23, 0.12 ± 1.42, 0.08 ± 1.37 %) of four differences active recovery technique response across time revealed no statistically significant (p > .05). Blood lactate clearance after four difference active recovery techniques revealed statistically significant main effect across four intervention, (F (1.48, 178.86) = 126.6, p < 0.01). Group B) combine recovery consisting of 10 min active cycling (50-60% HRmax) and 10 min cold water (11-15 Cº) immersion showed faster lactate clearance (86.6 %) when compared to other three technique (Group A = 66.6%, Group D = 37.6%, Group C = 31.5%). Scientific evidence from this study suggest that active recovery strategy by combining appropriate intensity (50-60% HRmax) and cold water immersion (11-15 Cº) could be beneficial during acute periods of training and match congestion in professional soccer players.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น