กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7819
ชื่อเรื่อง: ระบบรู้จำกิจกรรมที่ปรับได้โดยใช้ข้อมูลตัวรับรู้แอคเซเลอโรมิเตอร์ของสมาร์ทโฟน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adptive ctivity recognition system using the ccelerometer sensory dt of smrtphone.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักริน สุขสวัสดิ์ชน
อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน
เทิดศักดิ์ ดุงแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
คำสำคัญ: สมาร์ทโฟน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศ
การวิเคราะห์ระบบ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการรู้จํากิจกรรมจากสมาร์ทโฟน คือการวิเคราะห์ข้อมูลกระแสเชิงเวลา จากตัวรับรู้และระบุกิจกรรมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นอย่างถูกต้องแม่นยํา ดังนั้นการรู้จํากิจกรรมทางกายภาพของมนุษย์โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลตัวรับรู้แอคเซเลอโรมิเตอร์จากโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจสําหรับนักวิจัยและนักพัฒนา งานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการรู้จํากิจกรรม เป็นงานวิจัยที่สร้างตัวแบบรู้จํากิจกรรมเฉพาะบุคคล ตัวแบบรู้จํากิจกรรมเหล่านี้ใช้ข้อมูลของผู้ใช้คนเดียวกันสําหรับสอนและทดสอบ โดยให้ระบุกิจกรรมตามระยะเวลาที่กําหนด อย่างไรก็ตามการสร้างตัวแบบรู้จํากิจกรรมเฉพาะบุคคลอาจเป็นการรบกวนผู้ใช้มากเกินไป เนื่องจากต้องเสียเวลาสําหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรม หากผู้ใช้ไม่สามารถทํากิจกรรมทั้งหมดหรือทําไม่ครบตามระยะเวลาที่กําหนด การรู้จํากิจกรรมอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงได้นําเสนอกรอบแนวคดิการรู้จํากิจกรรมแบบใหม่ 2 วิธีสําหรับการรู้จํากิจกรรมกับข้อมูลกระแสเชิงเวลา กรอบแนวคิดแรกคือ “การรู้จํากิจกรรมไม่เฉพาะบุคคลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน” หรือ “ไอซาร์” วิธีการไอซาร์ประกอบด้วยขั้นตอนออฟไลน์และออนไลน์ ขั้นตอนออฟไลน์เป็นขั้นตอนสร้างตัวแบบรู้จํากิจกรรมจากข้อมูลที่ทราบการทํากิจกรรม ร่วมกันการใช้เทคนิควิธีการจัดกลุ่มข้อมูลส่วนขั้นตอนออนไลน์เป็นการรู้จํากิจกรรมกับข้อมูลกระแสเชิงเวลาแบบเรียลไทม์ที่สามารถประมวลผลบนอุปกรณ์ กรอบแนวคิดที่สองคือ “การปรับปรุงการรู้จำกิจกรรมไม่เฉพาะบุคคลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน” หรือ “ไอซาร์พลัส” ผลงานหลักในวิทยานิพนธ์นี้ คือ (1) นําเสนอวิธีการใหม่สําหรับจําแนกกิจกรรมตามคุณลักษณะของแต่ละกิจกรรม โดยจําแนกข้อมูล ออกเป็น 2 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มกิจกรรมแบบนิ่งและกลุ่มกิจกรรมแบบเคลื่อนไหว จากข้อมูลกระแสเชิงเวลาที่กําลังเข้ามาและไม่ทราบว่าเป็นกิจกรรมอะไร (2) ตัวแบบรู้จํากิจกรรมแบบใหม่ นําเสนอวิธีจัดการกับข้อมูลที่ทับซ้อนกัน และสามารถปรับปรุงตัวแบบรู้จํากิจกรรมได้โดยอัตโนมัติ กรอบแนวคิดที่นําเสนอนี้ได้ทดลองกับผู้ใช้หลายคนในสภาพการณ์จริง โดยใช้ข้อมูลสําหรับสอนและ ทดสอบจากข้อมูลกิจกรรม WISDM และ UniMiB-SHAR ผลจากการทดลองพบว่าวิธีการ ISAR และ ISAR+ สมารถให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าวิธีการ STAR ในสถานการณ์จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อมูลสอนและทดสอบจากผู้ใช้ที่ต่างกันและไม่จําเป็นต้องสอบถามกิจกรรมที่แท้จริงจากผู้ใช้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7819
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf11.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น