กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7805
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กนก พานทอง | |
dc.contributor.advisor | ปิยะทิพย์ ประดุจพรม | |
dc.contributor.author | ปราณี ใจบุญ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T06:07:58Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T06:07:58Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7805 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | พฤติกรรมการสอนของครูมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน หากส่งเสริมแรงจูงใจภายในที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครู จักก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ เป้าหมายการสอน และพฤติกรรม การสอนของครู 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์พหุคูณตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ เป้าหมายการสอน และพฤติกรรมการสอนของครู 3) เพื่อสร้างสมการทำนายพฤติกรรมการสอนของครู ด้วยตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของครู จำแนกตามประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 157 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเป็นสัดส่วน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,570 ฉบับ โดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็นแบบสอบถามสำหรับครูและแบบสอบถามสำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ความสัมพันธ์พหุคูณ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างตัวแปรทำนายกับพฤติกรรมการสอนของครู และวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ เป้าหมายการสอน และพฤติกรรมการสอนของครู มีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ตัวแปรพฤติกรรมการสอนของครู มีความสัมพันธ์พหุคูณกับตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอน 3) ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอน สามารถสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายพฤติกรรมการสอนของครูได้ ดังนี้ สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ = .744 + .154(SE)** + .151(IN)** + .103(INT)* + .157(TG)** สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ = .154Z**SE + .151Z**IN + .103Z*INT + .157Z**TG 4) ครูที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการสอนของครูไม่แตกต่างกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | ครู -- การสอน | |
dc.subject | ครู -- พฤติกรรม | |
dc.title | การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการภายใน ความสนใจ และเป้าหมายการสอนที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครู | |
dc.title.alternative | A study of self-efficcy, intrinsic needs, interests, nd teching gols s they relte to techer instructionl behviors | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Teacher instructional behaviors are important for learning management. The teacher is a knowledge transfer person and a good example for students. Encouraging internal motivation in relation to teacher instructional behaviors give students the benefit of learning. The purposes of this research were 1) to assess the construct validity of self-efficacy, intrinsic needs, interests, teaching goals, and teacher instructional behavior variables; 2) to study the multiple correlation of self-efficacy, intrinsic needs, interests, teaching goals, and teacher instructional behavior variables; 3) to derive equations for predicting teacher instructional behaviors with self-efficacy, intrinsic needs, interests, and teaching goals variables; and 4) to compare teacher instructional behaviors by classifying teaching experiences. Samples consisted of 157 teachers derived by proportional stratified random sampling and 1,570 questionnaires’ students derived by simple random sampling. Research instruments involved two questionnaires, one for students and one for teachers. Data were analyzed by confirmatory factor analysis, multiple correlation analysis, multiple regressions analysis, and one-way MANOVA. The research findings were as follows. 1) Self-efficacy, intrinsic needs, interests, teaching goals, and teacher instructional behaviors were found to have construct validity and to be consistent with empirical data. 2) Teacher instructional behavior variables had multiple correlations with self-efficacy, intrinsic needs, interests, and teaching goals. 3) Self-efficacy, intrinsic needs, interests, and teaching goals led to multiple regressions of predict teacher instructional behaviors as follows: Multiple regression in the form of raw scores: = .744 + .154(SE)** + .151(IN)** + .103(INT)* + .157(TG)** Multiple regression in the form of standard was: = .154Z**SE + .151Z**IN + .103Z*INT + .157Z**TG 4) Teachers with different teaching experiences had the same teacher instructional behaviors. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น