กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7804
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา สำหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of item pool strtegies by using intervl -prmeter strtifiction with content blncing for multidimensionl computerized dptive testing
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
เสรี ชัดแช้ม
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: แบบทดสอบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
ข้อสอบ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การจัดคลังข้อสอบเป็นการจัดการข้อสอบให้เป็นระบบ หมวดหมู่ พร้อมสำหรับการนำไปใช้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการที่พัฒนาขึ้นกับวิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบถ่วงน้ำหนักที่มีการบังคับ โดยใช้สถานการณ์จำลองข้อมูล ในด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ ได้แก่ ค่าความลำเอียงเฉลี่ย และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสอง ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon และด้านประสิทธิภาพของการใช้ข้อสอบ ได้แก่ ข้อสอบที่มีการแสดงมากเกินไป ข้อสอบที่มีการใช้น้อยเกินไป อัตราการทับซ้อนของข้อสอบ และการแจกแจงอัตราการแสดงข้อสอบ ด้วยการวิเคราะห์ Chi-Square 3) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติ ในรูปแบบ Web Application และ 4) เปรียบเทียบความสามารถของผู้สอบแต่ละระดับชั้นของค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามเพศและความสามารถด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) วิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) แบ่งคลังข้อสอบเป็น 4 ชั้น ตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบเป็นช่วง (2) จัดสมดุลเนื้อหาในแต่ละชั้นของคลังข้อสอบตามสาระการเรียนรู้ที่ออกข้อสอบ และ (3) ควบคุมการแสดงข้อสอบด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 2) วิธีการจัดคลังข้อสอบตาม ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบช่วงของแต่ละระดับชั้นร่วมกับการจัดสมดุลเนื้อหา มีประสิทธิภาพสูงกว่า วิธีการจัดคลังข้อสอบตามค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบแบบถ่วงน้ำหนักที่มีการบังคับ 3) การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์แบบพหุมิติในรูปแบบ Web Application สำหรับการทดสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานในระดับดี และ 4) ความสามารถด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีผลต่อความสามารถของผู้สอบแต่ละระดับชั้นของค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเพศไม่มีผลต่อความสามารถของผู้สอบ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7804
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf10.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น