กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7799
ชื่อเรื่อง: การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยประยุกต์กระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Designing clssroom lering ctivity by implementing formtive ssessment process for primry school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
สุชาดา กรเพชรปาณี
รวิชญุฒม์ ทองแม้น
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา -- การประเมิน
กิจกรรมการเรียนการสอน (ประถมศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: กิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนควรดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการประเมิน การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยประยุกต์กระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พิจารณาจากความเข้าใจของครูในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และผลการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูและนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเกาะแก้ว และครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดู่ จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. กิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนมี 6 ขั้น ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) กำหนดเกณฑ์ความสำเร็จในการเรียนรู้ 3) ปฏิบัติกิจกรรมและระบุหลักฐานการเรียนรู้ 4) ประเมินผลจากหลักฐานการเรียนรู้ 5) ให้ข้อมูลป้อนกลับ และ 6) สรุปผลการเรียนรู้ 2. หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้มี 7 ข้อ ได้แก่ 1) เปิดประเด็นปัญหาน่าสนใจ ชวนให้อยากรู้ ค้นคว้าต่อ 2) ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและร่วมคิดแก้ปัญหากับกลุ่ม 3) สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน 4) เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและใช้สื่อในท้องถิ่น 5) บูรณาการเนื้อหาวิชา 6) สัมพันธ์กับการทำงานของสมองสองซีก และ 7) กิจกรรมที่มีลักษณะเชิงรุก 3. กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4 จำนวน 24 รายวิชาที่มีคุณภาพเหมาะสม และสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ 4. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นทำให้การจัดการชั้นเรียนเป็นแบบเคลื่อนไหวเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้พฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนมากขึ้น และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น รวมทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครองและผู้บริหารมีเจตคติที่ดีมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7799
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น