กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7797
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมฟื้นสภาพร่างกายแบบมีการเคลื่อนไหวในนักกีฬาว่ายน้ำชายในช่วงการเจริญเติบโต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The cross-sectionl study of ctive recovery progrms on the swimmer in growing boys |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำรุงศักดิ์ เผื่อนอารีย์ นิรอมลี มะกาเจ สุกัญญา เจริญวัฒนะ ศิริพงศ์ ศรีภักดี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | ร่างกาย ร่างกาย -- การดูแลและสุขวิทยา การว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมฟื้นสภาพร่างกายแบบมีการเคลื่อนไหวในน้ำ และบนบกที่ส่งผลต่อปริมาณกรดแลคติกและประสิทธิภาพในการว่ายน้ำ หลังจากการว่ายน้ำท่ากบระยะทาง 200 เมตรกลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาว่ายน้ำท่ากบระดับเยาวชน เพศชาย จำนวน 11 คน อายุเฉลี่ย 14 ± 1.4 ปีน้ำหนัก 58.79 ± 11.34 กิโลกรัม ส่วนสูง 166.45 ± 7.58 เซนติเมตร มีการบันทึกเวลาในการว่ายน้ำท่ากบระยะทาง 100 เมตร และ 200 เมตร ในการแข่งขันจริงก่อนการทดสอบ 1 สัปดาห์ (100 เมตร= 84.56±8.72 วินาที 200 เมตร = 188.52 ±21.87 วินาที) นักกีฬาทำการทดสอบว่ายน้ำ ท่ากบระยะทาง 200 เมตร เต็มความสามารถจากนั้นใช้โปรแกรมฟื้นสภาพร่างกายแบบมีการเคลื่อนไหวด้วยการว่ายน้ำ และโปรแกรมฟื้นสภาพร่างกาย แบบมีการเคลื่อนไหวบนบกเป็นเวลา 25 นาทีหลังจากใช้โปรแกรมฟื้นสภาพพัก 1 ชั่วโมงและ ทดสอบว่ายน้ำสปริ้นท่ากบระยะทาง 100 เมตร มีการเจาะเลือดในนาทีที่ 5 หลังจากการว่ายน้ำท่ากบระยะทาง 200 เมตร และในนาทีที่ 10 นาทีที่ 20 และนาทีที่ 25 ในระหว่างใช้โปรแกรมฟื้นสภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ (Paired sample t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Analysis of variance with repeated measure) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของตูกีย์ (Tukey post hoc) ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณกรดแลคติกในเลือดหลังจากว่ายน้ำท่ากบระยะทาง 200 เมตร เต็มความสามารถไม่แตกต่างกันในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้โปรแกรมฟื้นสภาพร่างกายแบบมีการเคลื่อนไหวทั้ง 2 วิธีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปริมาณกรดแลคติกในเลือดในนาทีที่ 10 ไม่แตกต่างกัน ระหว่างใช้โปรแกรมฟื้นสภาพทั้ง 2 วิธี (3.77 ± 1.34 เปรียบเทียบกับ 4.37 ± 1.24 มิลลิโมลต่อลิตร) ปริมาณกรดแลคติกในเลือดระหว่างนาทีที่ 20 และนาทีที่ 25 หลังจากใช้โปรแกรมฟื้นสภาพร่างกายแบบมีการเคลื่อนไหวในน้ำสามารถลดปริมาณกรดแลคติกในเลือดได้เร็วกว่าการฟื้นสภาพร่างกายแบบมีการเคลื่อนไหวบนบก (1.81±0.77 เปรียบเทียบกับ 2.52±0.52 มิลลิโมลต่อลิตรและ 1.24±0.41 เปรียบเทียบกับ 1.76±0.39 มิลลิโมลต่อลิตร) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7797 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น