กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7795
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการจัดกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและความเข้มแข็งของชุมชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Mngement model for longbot ctivity to promote the sport tourism nd strengthen community |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ นภพร ทัศนัยนา ประวิทย์ ทองไชย วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว -- การจัดการ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและความเข้มแข็งของชุมชน เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้กระบวนการแบบ PAOR โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการแข่งขันเรือพายในจังหวัดน่าน 2) กลุ่มนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ร่วมกับกลุ่มผู้ที่มีความคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวหรือผู้มีความรู้ความเข้าใจในทรัพยากรการจัดการแข่งขันเรือพายและการท่องเที่ยว 3) สมาชิกในชุมชนนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ มาวิเคราะห์เพื่อนำมาสร้างรูปแบบกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและความเข้มแข็งชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมกันในทุกขั้นตอนของการจัดทำรูปแบบประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรม 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน จำนวน 10 องค์ประกอบ คือ กำหนดชุมชนหลัก กำหนดผู้รับผิดชอบเป้าหมายวัตถุประสงค์แผนการดา เนินงาน กิจกรรม แผนด้านบุคลากรบูรณาการร่วมกัน ภายในและภายนอกชุมชน งบประมาณ ด้านสถานที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม ด้านการตลาด และชุมชนร่วมกันสะท้อนผล 2) ด้านการจัดองค์กร จำนวน 5 องค์ประกอบ คือ ชุมชนร่วมกันกำหนดและออกแบบกิจกรรม โครงสร้างชมรมเรือพายกำหนดคุณสมบัติ และจัดอบรมคณะกรรมการดำเนินการ 3) ด้านการนำไปปฏิบัติจำานวน 3 องค์ประกอบ คือกลุ่มเป้าหมายกระบวนการจัดกิจกรรม และชุมชนได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรม 4) ด้านการควบคุม จำนวน 3 ด้าน คือ ชุมชนร่วมกันสะท้อนผลจัดทำคู่มือและการประเมินโดยชุมชนและส่วนประสมการตลาด มีอยู่ 3 องค์ประกอบ ด้านการประชาสัมพันธ์กำหนดหนดราคาค่าบริการด้านการท่องเที่ยวการสร้างและการนำเสนอภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน มีความตระหนักถึงการทำงานและการเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางของชุมชนร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7795 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น