กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7792
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
dc.contributor.advisorนฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.advisorเสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.authorพรวิไล ปัญญาวงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:07:56Z
dc.date.available2023-05-12T06:07:56Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7792
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractเพื่อให้ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีแบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจเพื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มแข็งทางจิตใจและเพื่อเปรียบเทียบระดับความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาที่มีประสบการณ์และเพศที่ต่างกัน โดยการนำเอาแบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจของธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ และคณะ (2553) มาแปลเป็นฉบับภาษาลาว และทำการศึกษาใน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักกีฬาเยาวชนลาวที่เข้าร่วมในงานแข่งขันกีฬาไม่น้อยกว่า 1 ปีและมีอายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 404 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง 189 คน และเพศชาย 215 คน การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาวด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยการใช้โปรแกรม LISREL 8.50 ผลการวิจัยพบว่า แบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาว มีความตรง เชิงโครงสร้างที่ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความเชื่อมั่นของความมั่นใจเฉพาะอย่าง 2) ความรู้สึกดีเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน 3) ด้านคุณค่าของสิ่งที่ทำ 4) ด้านศักยภาพ 5) ด้านความคุ้นเคยกับสิ่งที่ทำ 6) ด้านสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง 7) ด้านการจัดการกับความเครียด 8) ด้านอัตมโนทัศน์ทางด้านจิตใจ 9) ด้านความคิดในทางบวก 10) ด้านความพากเพียร อุตสาหะ 11) ด้านสมาธิกับงานที่ทำอยู่และ 12) ด้านความทุ่มเทต่อเป้าหมาย มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 ค่าของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .499±.989 การวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงโครงสร้าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกฑ์ดี (Chi =42.231, P = 0.13025,df =33) และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)= 0.983 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนปรับแก้แกล้ว (AGFI)=0.959 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) =0.999 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMR)= 0.0132 และผลการวิเคราะห์ความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาวโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( X =6.53และ SD = 0.91) และเมื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเพศชายและเพศหญิง พบว่า เพศชาย ( X = 6.56, SD = 0.95) มีความเข้มแข็งทางจิตใจมากกว่าเพศหญิง ( X = 6.49,SD = 0.86) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไปนั้น มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า นักกีฬาที่มีประสบการณ์ 3-4 ปี และ 1-2 ปีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบทดสอบ -- ความเที่ยง
dc.subjectนักกีฬา -- จิตวิทยา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.titleการตรวจสอบความเที่ยงตรงโมเดลการวัดความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาว
dc.title.alternativeVlidtion of mesurement model of mentl toughness in sport for young lo thletes
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIn order to be a quality and standard mental questionnaire for Laos, the purposes of the research are to validate the measurement model of mental toughness inventory, to analyze level of mental toughness, and to compare the level of mental toughness in different gender and experience athletes. Thai version of mental toughness questionnaire (Julvanichpong et al., 2010) was back translated into Lao language and was studied 404 samples, young Lao athletes, who have joined the competition at least one year and were 14-18 years old. They were 189 females and 215 males. The data of mental toughness were analyzed by using a computer application program and the construct validity and confirmatory factors were analyzed by using LISREL 8.50. The result of the research found that mental toughness questionnaire for young Lao athletes was structural valid with 12 factors. They were 1) self-efficacy, 2) positive comparison, 3) task value, 4) potential, 5) task familiarity, 6) personal bests, 7) stress minimization, 8) mental self-concept, 9) positivity, 10) perseverance, 11) task focus, and 12) goal commitment. The reliability of the questionnaire was .95. Factors correlation was .499-.989. The questionnaire’s construct validity is acceptable at good level (Chi square=42.231, P=0.13025), df=33, AGFI= 0.959, CFI=0.999, RMR =0.0132. The level of mental toughness of Laos male athletes (x̅ = 6.56, SD =0.95) was higher than Laos female athletes’ (x̅ =6.49, SD =0.86). It was statistically significant difference (F=1.805, p=.011). The mental toughness of the athletes who had more experience (5 years and above) was higher than the mental toughness of the athletes who had 3-4 and 1-2 year experience (p<.05).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น