กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7786
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของกิจกรรมทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Vlidtion nd invrince nlysis of cusl model mong physicl ctivity in university students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร เสกสรรค์ ทองคำบรรจง กิตติมา เทียบพุฒ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | การออกกำลังกาย โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ความเที่ยง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตรวจสอบความเที่ยงตรงและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกิจกรรมทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 400 คน เป็นเพศชาย 188 คน และเพศหญิง 212 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม 6 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลโดยเทคนิคการ วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของโมเดลมีค่าอยู่ระหว่าง 0.21-0.57 เป็นความสัมพันธ์ในระดับต่ำ จำนวน 8 คู่ ความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง จำนวน 32 คู่และความสัมพันธ์ในระดับสูง จำนวน 16 คู่, 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายตามสมมติฐานข้อที่ 1 และสมมติฐานข้อที่ 2 มีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ในระดับดี โดยโมเดล ตามสมมติฐานข้อ 2 สอดคลอ้งกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีกว่าโมเดลตามสมมติฐานข้อที่ 1, 3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามโมเดลสมมติฐานข้อที่ 1 ทัศนคติต่อกิจกรรมทางกาย (APA) ส่งอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (PAB) ส่วนการสนับสนุนทางสังคม (SS) และสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบตัว (NS) ส่งอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (PAB) ขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.19** 0,55**และ 0.33** ตามลำดับ ส่วนการรับรู้ความสามารถการเรียนรู้ทางกาย (PPL) ส่งอิทธิพลทางอ้อมขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.12** ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวน พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (PAB) ได้ร้อยละ 62 ส่วนโมเดลสมมติฐานข้อที่ 2 การรับรู้ความสามารถ การเรียนรู้ทางกาย (PPL) และทัศนคติต่อกิจกรรมทางกาย (APA) ส่งอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (PAB) ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.82**และ 0.12** ตามลำดับ ส่วนการสนับสนุนทางสังคม (SS) กับสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบตัว (NS) ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (PAB) ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.57** และ 0.34** ตามลำดับ ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวน พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (PAB) ได้ร้อยละ 76, 4) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายไม่แปรเปลี่ยนระหว่างเพศชายและเพศหญิง สรุปผลโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายมีความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้าง โมเดลสามารถนำ ไปใช้กับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7786 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น