กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7779
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและระดับค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of eductive supportive progrm on self-cre behviors for iron deficiency nemi prevention nd hemtocrit levels mong iron deficiency nemic pregnnt women |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพิศ ศิริอรุณรัตน์ ศิริวรรณ แสงอินทร์ ธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ฮีมาโตคริต เลือดจาง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากเนื่องจากมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ซึ่งภาวะนี้ที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กและระดับค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 48 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 รายและกลุ่มควบคุม 24 รายกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุน และให้ความรู้ร่วมกับการพยาบาลตามปกติกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนาและสถิติทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลอง หญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกัน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กสูงกว่าก่อนการทดลอง (t 23= 10.30, p< .001)และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t 46= -6.11, p< .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ 2) หญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีระดับค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตสูงกว่าก่อนการทดลอง (t 23= 6.19, p< .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t 46= -2.41, p= .02) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้นี้ไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่เหมาะสม และระดับค่าฮีมาโตคริตที่สูงขึ้นต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7779 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น