กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7779
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุพิศ ศิริอรุณรัตน์
dc.contributor.advisorศิริวรรณ แสงอินทร์
dc.contributor.authorธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:48Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:48Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7779
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากเนื่องจากมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ซึ่งภาวะนี้ที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กและระดับค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 48 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 รายและกลุ่มควบคุม 24 รายกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุน และให้ความรู้ร่วมกับการพยาบาลตามปกติกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนาและสถิติทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลอง หญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกัน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กสูงกว่าก่อนการทดลอง (t 23= 10.30, p< .001)และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t 46= -6.11, p< .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ 2) หญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีระดับค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตสูงกว่าก่อนการทดลอง (t 23= 6.19, p< .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t 46= -2.41, p= .02) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรนำโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้นี้ไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่เหมาะสม และระดับค่าฮีมาโตคริตที่สูงขึ้นต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectฮีมาโตคริต
dc.subjectเลือดจาง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและระดับค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
dc.title.alternativeEffects of eductive supportive progrm on self-cre behviors for iron deficiency nemi prevention nd hemtocrit levels mong iron deficiency nemic pregnnt women
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIron deficiency anemia in pregnant women is a serious health problem because it can affects the health status of both pregnant women and the fetus. Iron deficiency anemia can be prevented and treated. This quasi-experimental research with comparison group pre-test/ post-test design aimed to determine effects of an educative supportive program on self-care behaviors for the prevention of iron deficiency anemia and hematocrit levels among pregnant women with iron deficiency anemia. Participants were iron deficiency anemic pregnant women who attended antenatal care clinic at a district hospital in Nakhon Ratchasima province. Forty-eight participants were recruited in the study by convenience sampling method and they were equally divided into a control group (n= 24) and an experimental group (n= 24). The experimental group received the educative supportive program and routine antenatal care while the control group received routine antenatal care only. Instruments used for data collection were a demographic data questionnaire and self-care behaviors for prevention of iron deficiency anemia questionnaire with Cronbach’s alpha coefficient of .78. Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. The findings revealed that after intervention, the experimental group had significantly higher mean score of self-care behaviors for iron deficiency anemia prevention than before intervention (t 23= 10.30, p< .001) and had significantly higher than the control group (t 46= -6.11, p< .001). In addition, the experimental group had significantly higher mean hematocrit level than before intervention (t 23 = 6.19, p< .001) and had significantly higher than the control group (t 46 = -2.41, p= .02). The findings suggested that nurses should apply this educative supportive program to provide nursing care for iron deficiency anemic pregnant women, so that they can improve self-care behaviors to prevent iron deficiency anemia and increase hematocrit levels.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น