กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7776
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors reltted to evidence-bsed prctice in norml birth cre of intrprtum nurses in hospitls, helth region 5
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณี เดียวอิศเรศ
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
พัชร์ลดา ธำรงกาญจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
การคลอด
การคลอด -- การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความสําคัญในการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลด้านสุขภาพ พยาบาลได้นําผลงานวิจัยที่ค้นคว้ามาใช้มาช่วยด้านการตัดสินใจในการดูแลรักษาทางคลินิกและนําไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกห้องคลอดของโรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 5 จํานวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้และ ทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ แบบสอบถามการสนับสนุนในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และแบบสอบถามการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90, .75, .74 และ .71 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลห้องคลอดมีการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยรวมถูกต้องเหมาะสมค่อนข้างมาก (M = 35.16, SD = 3.91) ความรู้ในการ ปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และการสนับสนุนในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .322 และ r= .416 ตามลําดับ) ส่วนทัศนคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่มีความสัมพันธ์การปฏิบัติการดูแลการคลอดปกติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (r= -1.00, p = .279) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมให้พยาบาลห้องคลอดมีความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์และให้การสนับสนุนแก่พยาบาลเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลของงานห้องคลอดต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น