กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7764
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing positive spects of cregiving mong stroke fmily cregivers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
วรรณรัตน์ ลาวัง
อาจารีย์ จันทร์พานิชย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
หลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ญาติผู้ดูแลเป็นทรัพยากรที่สําคัญในระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะยาว การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทํานายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยในจังหวัดสระบุรี ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน จํานวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เครือข่ายทางสังคม แบบสัมภาษณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาระในการดูแล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถตนเอง แบบสัมภาษณ์กิจกรรมเพิ่มสุขในชีวิตประจําวัน และแบบสัมภาษณ์มุมมองเชิงบวกจากการดูแลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้มุมมองเชิงบวกจากการดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีมุมมองเชิงบวก 3 อันดับแรกคือ ความรู้สึกดีกับตนเองที่ได้ตอบแทนบุญคุณบุคคลอันเป็นที่รัก ( X = 4.72, SD = 0.51) ความรู้สึกว่าตนเอง มีความสําคัญ ( X = 4.37, SD = 0.61) และความรู้สึกว่ามีคนต้องการ ( X = 4.35, SD = 0.58) ตามลําดับ และปัจจัยกิจกรรมเพิ่มสุขในชีวิตประจําวัน (B = .367) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (B = .194) การรับรู้ภาวะสุขภาพ (B = .177) และการรับรู้ภาระการดูแล (B = -.195) สามารถร่วมกันทํานายมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 49.1 (R2 = .491, p < .000) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรนําผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการส่งเสริมกิจกรรมเพิ่มสุขในชีวิตประจําวันเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถตนเองเพิ่มระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพให้อยู่สูงขึ้น และช่วยระดับการรับรู้ถึงภาระการดูแล อันจะนําไปสู่การเกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี และทําบทบาทหน้าที่ผู้ดูแลต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7764
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น