กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7764
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
dc.contributor.advisorวรรณรัตน์ ลาวัง
dc.contributor.authorอาจารีย์ จันทร์พานิชย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:44Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:44Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7764
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractญาติผู้ดูแลเป็นทรัพยากรที่สําคัญในระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะยาว การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทํานายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยในจังหวัดสระบุรี ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน จํานวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เครือข่ายทางสังคม แบบสัมภาษณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาระในการดูแล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถตนเอง แบบสัมภาษณ์กิจกรรมเพิ่มสุขในชีวิตประจําวัน และแบบสัมภาษณ์มุมมองเชิงบวกจากการดูแลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้มุมมองเชิงบวกจากการดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีมุมมองเชิงบวก 3 อันดับแรกคือ ความรู้สึกดีกับตนเองที่ได้ตอบแทนบุญคุณบุคคลอันเป็นที่รัก ( X = 4.72, SD = 0.51) ความรู้สึกว่าตนเอง มีความสําคัญ ( X = 4.37, SD = 0.61) และความรู้สึกว่ามีคนต้องการ ( X = 4.35, SD = 0.58) ตามลําดับ และปัจจัยกิจกรรมเพิ่มสุขในชีวิตประจําวัน (B = .367) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (B = .194) การรับรู้ภาวะสุขภาพ (B = .177) และการรับรู้ภาระการดูแล (B = -.195) สามารถร่วมกันทํานายมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 49.1 (R2 = .491, p < .000) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรนําผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการส่งเสริมกิจกรรมเพิ่มสุขในชีวิตประจําวันเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถตนเองเพิ่มระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพให้อยู่สูงขึ้น และช่วยระดับการรับรู้ถึงภาระการดูแล อันจะนําไปสู่การเกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี และทําบทบาทหน้าที่ผู้ดูแลต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมุมมองเชิงบวกจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
dc.title.alternativeFctors influencing positive spects of cregiving mong stroke fmily cregivers
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeFamily caregivers are essential resources in the long-term care system for stroke patients. This predictive correlational research aimed to investigate the factors influencing the positive aspect of caregiving among stroke family caregiver. The participants of the study were 120 family caregivers of stroke patients in Saraburi province who were recruited based on multi-stage cluster sampling. Data was collected in March-April, 2017 using interviews including social networks, perceived social support, perceived caregiving burden, perceived self-efficacy, enrichment events in daily life, and positive aspectsof caregiving. Data was analyzed by descriptive statistics and multiple regressions. The results revealed that the positive aspect of caregiving among stroke family caregivers was rated at high levels. The three items most reported by family caregivers were feeling of good about myself to provide care for love one, feeing of more useful, feeling of appreciated from others. Results also indicated that enrichment events in daily life, perceived caregiving burden, perceived self-efficacy, and perceived health status, could explain the variation of the positive aspect of caregiving among stroke family caregivers by 49.1%. Results suggest that community nurse practitioners and other health providers should develop program to improve the positive aspect of caregiving among stroke family caregivers. They should promote enrichment events in daily life, improve perceived self-efficacy, and manage health status, and also reduce perceived caregiving burden, in order to an effective caregiving role.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น