กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7747
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to helth behvior of coronry rtery disese prevention mong elderly with metbolic syndrome
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วารี กังใจ
สหัทยา รัตนจรณะ
นพนัฐ จำปาเทศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
หัวใจ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมอาจทeให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมควรปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การวิจัยเชิงสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและปัจจัยที่มีความสัมพันกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 92 ราย ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างถามเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจการรับรู้ โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจการรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ ความสามารถของตนเอง และความรอบรู้ทางสุขภาพต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปานกลาง (M =2.94, SD =0.32) พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ อุปสรรค (r= -.57, p< .001) แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรค (r=.56, p<.001) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r=.25, p=.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยลดการรับรู้ อุปสรรคเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และเพิ่มการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการป้องโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างเหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7747
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น