กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7737
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorมงคล เกิดลาภ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:24:39Z
dc.date.available2023-05-12T04:24:39Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7737
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 70 ข้อ แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .38-.63 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครู จำนวน 42 ข้อ จำนวน 28 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .36-.64 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .87 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 269 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีอิทธิพล อย่างมีอุดมการณ์ และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ 2. การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผย และด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- จันทบุรี
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
dc.title.alternativeThe reltionship between the trnsformtionl ledership of school dministrtors nd techer temwork under the chnthburi primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study the relationship between the transformational leadership of school administrators and teacher teamwork under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1, The research instrument was a set of five-rating scale questionnaire asking 70 questions. The questionnaire is divided into two parts. Part 1 asked 28 questions about the transformational leadership of school administrators. The item discrimination power in this part of the questionnaire was between .38-.63 and the reliability value was .87. Part 2 asked 42 question about work motivation of teachers. The item discrimination power was between of .36-.64 and the reliability was .87. The sample consisted of 269 teachers under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1. The statistical devices used for data analysis were frequency distribution, percentage, Mean ( ), Standard Deviation (SD) and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The result revealed as follows: 1. The Transformational Leadership of school administrators under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1, as a whole and in each aspect, was at a high level, ranking from high to low as the following: Intellectual Stimulation, Individual Consideration, Idealized Influence and Inspiration Motivation respectively. 2. Teacher teamwork under the office of Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1, as a whole and in each aspect, was rated at a high level, ranking from high to low in term of their trust, respect, goals, participations, communications and interaction respectively. 3. The relationship between transformational leadership of school administrators and teacher teamwork under the office of Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1 was positively related with a statistically significant level of .01.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น