กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/772
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีที่เปิดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี ปีการศึกษา 2551
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the first year students in selecting to study at faculty of science and arts, Burapha University, Chantaburi campus, academic year 2008
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัญลิน จิรัฐชยุต
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: การตัดสินใจ
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา - - การศึกษาต่อ
นักศึกษา - - การศึกษาต่อ
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชากับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีที่เปิดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2551 จำนวน 380 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 2 ตอน ที่มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.8074 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคกำลังสอง(chi-square Test) และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความมีชื่อเสียงของสาขาวิชา สาขาวิชาที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โอกาสในการได้งานทำเมื่อเรียนจบ โอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และค่าลงทะเบียนเรียนมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับสาขาวิชา และเมื่อวัดระดับความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การจรพบว่า ปัจจัยด้านสาขาวิชาที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสาขาวิชามากที่สุด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาในอันดับรองลงมา คือ โอกาสในการได้งานทำเมื่อเรียนจบ โอกาสในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ค่าลงทะเบียนเรียน และความมีชื่อเสียงของสาขาวิชา ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์แบ่งเป็น 4 ด้าน ที่สามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ 17 ตัวแปร ได้ร้อยละ 57.487 คือ ด้านความมีชื่อเสียงของสถานศึกษาและสาขาวิชา ด้านคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยและจำนวนนิสิตที่รับเข้าศึกษา ด้านความต้องการของตลาดแรงงานและโอกาสในการเข้าศึกษาต่อ และด้านเหตุผลส่วนตัวและคำแนะนำของบุคคลอื่น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น