กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/772
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกัญลิน จิรัฐชยุต
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:08Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:08Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/772
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชากับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีที่เปิดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2551 จำนวน 380 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 2 ตอน ที่มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.8074 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคกำลังสอง(chi-square Test) และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ(Exploratory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความมีชื่อเสียงของสาขาวิชา สาขาวิชาที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โอกาสในการได้งานทำเมื่อเรียนจบ โอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และค่าลงทะเบียนเรียนมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับสาขาวิชา และเมื่อวัดระดับความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การจรพบว่า ปัจจัยด้านสาขาวิชาที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสาขาวิชามากที่สุด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาในอันดับรองลงมา คือ โอกาสในการได้งานทำเมื่อเรียนจบ โอกาสในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ค่าลงทะเบียนเรียน และความมีชื่อเสียงของสาขาวิชา ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์แบ่งเป็น 4 ด้าน ที่สามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ 17 ตัวแปร ได้ร้อยละ 57.487 คือ ด้านความมีชื่อเสียงของสถานศึกษาและสาขาวิชา ด้านคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยและจำนวนนิสิตที่รับเข้าศึกษา ด้านความต้องการของตลาดแรงงานและโอกาสในการเข้าศึกษาต่อ และด้านเหตุผลส่วนตัวและคำแนะนำของบุคคลอื่นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรีen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectการตัดสินใจth_TH
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา - - การศึกษาต่อth_TH
dc.subjectนักศึกษา - - การศึกษาต่อth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีที่เปิดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี ปีการศึกษา 2551th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the first year students in selecting to study at faculty of science and arts, Burapha University, Chantaburi campus, academic year 2008th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2551
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to study the relationship between major and factors affecting the first year students'decision to stusy at Faculty of Science and Arts, and to identify factors affecting their decision to study each major of the faculty according to the factor analysis technique. The sample of the study, derived by simple random sampling, was 380 first year student in Faculty of Science and Arts in academic year 2008. A two-part questionnaire was used to collect data. Part one of questionnaire contained a checklist of student' general information, while part two was a five-point rating scale asking about 17 possible factors affecting the decision to study in faculty. The reliability of the questionnaire tested by Cronbach's alpha coefficient was 0.8074. Data were analyzed by frequenc, mean, Chi-Square test and exploratory factor analysis. The result reveals that the reputation og majors, majors supporting labor market needs, career opportunities,further study opportunities, and tuition fees were related to the students' decision to study in each major at 0.05 significance level. On the other hand, thr other factors were not related to the decision. The major supporting labor market needs was the factor with the strongest relation, followed by career opportunities, further study opportunities, tuition fees, and the reputation of majors, respectively.According to the factor analysis,the result showed that all 17 possible factors affecting the decision to study divided into four aspects was 57.487 percent of total variance. The four aspects included the reputation of the institute and majors, the university admission score and admission number, labor market needs and further study opportunities, as well as personal reasons and advice from other.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น