กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7704
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorชลิดา เจริญชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:17Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:17Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7704
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน กลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน และขนาดโรงเรียน และหาแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2560 โดยกำหนดขนาดของโรงเรียน ตามตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 148 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตาม ขนาดโรงเรียน (Stratified random sampling) ซึ่งผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและแนวทาง การบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 1 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.87 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน 2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน และ ขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 มีดังนี้   3.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจแก่ ครู บุคลากร ทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น และผู้บริหารควรประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้ 3.2 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้บริหารควรเพิ่มการให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ครูและผู้บริหารควรให้ขวัญ และกำลังใจครูที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดการเรียนการสอน 3.3 ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ผู้บริหารควรจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง ผู้บริหาร ควรส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล และผู้บริหารควรจัดให้มี การอบรมครูเกี่ยวกับการจัดทำแผนการวัดผลและประเมินผลแต่ละรายวิชา 3.4 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ครูผู้สอนต้องให้ความร่วมมือในการวิจัยตลอดจนเผยแพร่ผลงานวิจัย ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูดำเนินการจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ และผู้บริหารควรจัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้างและการใช้นวัตกรรมด้วยวิธี ที่หลากหลายและทันสมัย 3.5 ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผู้บริหารควรจัดให้มี การประสานความร่วมมือในการผลิตจัดหา พัฒนาและการใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้บริหารควรจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาด้านวิชาการ และผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูผลิต พัฒนาสื่อ และนวัตกรรมการเรียนการสอน 3.6 ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารควรดำเนินการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา และผู้บริหารควรดำเนินการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น 3.7 ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารควรจัดให้มีการนำผลการนิเทศมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้ความร่วมมือในการนิเทศการเรียนการสอนและผู้บริหารควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้บริหารและครูผู้สอนในเรื่องเทคนิคและวิธีการนิเทศ 3.8 ด้ านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานต้นสังกัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ผู้บริหารควรจัดเตรียมงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและผู้บริหารควรส่งเสริมให้ ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายในภายนอก และการนำข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนา
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectวิชาการ -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนกลุ่มนิคมพัฒนา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
dc.title.alternativeProblems nd guidelines of development cdemic of dministrtive of ikhomphtthn group under ryong primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare the problems of academic administration of Nikhomphatthana group schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1, classified by educational background, teaching experience, and school size. The research also aimed to find the guideline for academic administration of the Nikhomphatthana group schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1. The research samples were 148 teachers of Nikhomphatthana group schools under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2017, determining the sample size by Krejcie& Morgan’s table (Krejcie& Morgan, 1970, pp. 608-610). They were selected by using Stratified sampling according to the school sizes. The research instruments was a questionnaire on the problem and guideline for the academic administration of Nikhompatthana group schools under the Rayong Primary Education Area Office 1 with a discriminative power between .20 and .87, the reliability of .96. Statistics used in data analysis included mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test, and One-way ANOVA. The research results were: 1. The academic administration problem of Nikhompatthana group schools under the Rayong Primary Education Area Office 1, in overall and each aspect were at a high level. The top three nere; the development of media, innovation and technology for education, the development of learning resources and the measurement and evaluation and transfer of learning. 2. The comparison of academic administration problems of Nikhompatthana group schools under the Rayong Primary Education Area Office 1, classified by educational background, teaching experience and school size in overall and individual were not statistically significant different. 3. The development of academic administration of Nikhompatthana group schools under the Rayong Primary Education Area Office 1 were; 3.1 School curriculum development management should create understanding of teachers. Educational personnel and those related to the curriculum. The curriculum should be developed to meet local needs. Administrators should set up a meeting to discuss the curriculum and the curriculum implementation. 3.2 Development of learning process that teachers focus on student learning activities. Management should provide supervision on instruction and learning activities for teachers. The administrators should provide moral support to encourage teachers to succeed in teaching and learning. 3.3. Evaluation and transfer of learning outcomes. Management should provide training on the evaluation and evaluation of teaching and learning by focusing on the authentic assessment. Management should encourage teachers to participate in the development of measurement and evaluation tools. Teachers should be trained on the implementation of each assessment and evaluation plan. 3.4 Concerning research for quality development it was suggested that teachers need to cooperate in research as well as disseminate research results. Management should encourage teachers to conduct research to improve the quality of learning in each subject. The administrators should train teachers on the creation and use of innovation in a variety of ways. 3.5 Development of Media, Innovation and Technology for Education, the management should coordinate the production, and utilization of innovative media and modern technology. Management should provide media and technology for teaching and academic development, the management should encourage teachers to develop media and teaching innovations. 3.6 Development of Learning Resources, the management should establish and develop learning resources to develop knowledge. The administrators should encourage teachers to use learning resources both inside and outside the school. Administrators survey for learning resources in local educational institutions. 3.7 On the supervision of the administrators, the supervisors should be supervised to improve their teaching and learning. Teachers should cooperate in supervising teaching and management. Management should provide workshops for administrators and teachers on technical and supervisory approaches. 3.8 Development of quality assurance system within the institution, administrators should appoint experts from the agency to participate in the internal quality assurance process of the institution. Management should provide budget and facilities to operate the quality assurance system within the institution. The administrators should encourage teachers, personnel and those involved in the analysis to synthesize external quality assessment results and the information from the analysis of synthesis to take advantage of the development.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น