กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7700
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorอภิชาติ เบิกประโคน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:16Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:16Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7700
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้ง ในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน กลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ในปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .41-.85 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะทำการทดสอบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ยกเว้น ด้านปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ยกเว้น สภาพองค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้ง ผู้บริหารควรจัดการความขัดแย้งด้วยความเด็ดขาด โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล พร้อมสร้างแนวทางการทำงานร่วมกัน พยายามที่จะทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับ การกระทำตามเงื่อนไขข้อตกลงของส่วนรวม พยายามหลีกเลี่ยงการแสดงความเห็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง และจะต้องพยายามเสนอเรื่องราวที่ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ร่วมงานคนใดคนหนึ่ง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectการบริหารความขัดแย้ง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternativeProblems nd guidelines for development of conflict mngement in bnglmung schools group 2 under the chonburi primry eductionl sevice re office 3
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate the problems and to find guidelines for the development of conflict management in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The sample of the study included school personnel working in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year 2017. Based on Krejice and Morgan's Table of Sample Size (1970, pp.608-609), the sample of the study consisted of 108 school personnel. A rating-scale questionnaire, having the discriminating power of items between .41-.85 and the reliability at .96, was used as an instrument for data collection. Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. In case of significant differences were found, Scheffe’s paring comparison method would be applied. The findings revealed as follows: 1. The problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, both as a whole and in each particular aspect, were found at a high level. 2. On the comparison of the problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by gender, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, except only in the aspect of work interaction, in which there was a significant difference at the level of .05. 3. On the comparison of the problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by age, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, except only in the aspect of organization status, in which there was a significant difference at the level of .05. 4. On the comparison of the problems of conflict management of school personnel in Banglamung Schools Group 2 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, classified by work experience, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, 5. Guidelines for the development of conflict management were: administrators should carry out conflict management with firmness by standing on the ground of reasons; and readiness to foster collaborating, accommodating, avoiding, and compromising the conflicts.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น