กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7693
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรัตน์ ไชยชมภู | |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ พรหมอารักษ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:19:15Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:19:15Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7693 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” ปีการศึกษา 2560 กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-609) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) โดยมีค่าอำนาจจำแนก .24-.83 และค่าความเชื่อมั่น .93 ในแบบปัจจัยจูงใจ จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก .25-.80 และค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์การเปรียบเทียบใช้การทดสอบค่าที (t-test) หาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีของ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ปัจจัยสุขอนามัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านความมั่นคงและความปลอดภัย ด้านนโยบายและการบริหาร และด้านการบังคับบัญชา ตามลำดับ และปัจจัยจูงใจ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านงานที่ท้าทาย ด้านความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ด้านความเจริญเติบโตและการพัฒนา ด้านความสำเร็จ และด้านการยกย่องในความสำเร็จ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จำแนกตามเพศและ วุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตาม ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ปัจจัยจูงใจ ด้านงานที่ท้าทาย และด้านความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | ครูมัธยมศึกษา -- การทำงาน | |
dc.subject | การจูงใจในการทำงาน | |
dc.subject | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร -- ชลบุรี | |
dc.title | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 | |
dc.title.alternative | Techers’motivtion t work of secondry eductionl service re office, re 18 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study and compare the teachers’s motivation at work of Ban Bueng Utsahakam Nukhro School under the Secondary Educational Service Area Office 18 classified by gender, Educational qualification, and work experience. The research sample was 116 government teachers who are working at Ban Bueng Utsahakam Nukhro School in the academic year 2017. The research sample was chosen by Krejcie & Morgan’s table (Krejcie & Morgan 1970, pp. 608-609). The research instruments was a five rating scale questionnaire. The discriminative power was between .24 -.8. The reliability was at .93. There were 25 items about motivational factors. The discriminative power was between .25-.80. The reliability was at .95. The statistics used in this research were Mean (Xˉ )Standard Deviation (SD), t-test, One-way ANOVA, and Scheffe's method. The research results were 1. the teachers’s motivation at work of Ban Bueng Utsahakam Nukhro School under the Secondary Educational Service Area Office 18 for the sanitation factor was at a high level in overall and each aspect. When sorting the means of each aspect descending, the factors were personal relationship, working environment, stability and safety, policy and administration, and command. The motivational factors was at a high level in overall and each aspect. When sorting the means descending, the factors were challenging job, Increased responsibility, development and growth, achievement, and success commendation. 2. the comparison of the teachers’s motivation at work of Ban Bueng Utsahakam Nukhro School under the Secondary Educational Service Area Office 18 classified by gender and educational qualification in overall and each aspect were different with no statistically significant. Classified by work experience, in overall and each aspect, were different with no statistically significant. However, there was some exceptional. They were the motivational factor about challenging job and increased responsibility. These two were statistically significant different at .05 level. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น