กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7678
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administrtive fctor of school dministrtors ffecting school effectiveness under the office of trt primry eduction service re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
ธนวิน ทองแพง
วริศรา อรุณกิตติพร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้บริหารสถานศึกษา -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยครูในโรงเรียนประถมศึกษา และขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 288 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ประเภทของสถานศึกษาเป็นเกณฑ์แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวนเป็น 2 ตอน โดยแบบสอบถามตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .22-.71 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของ สถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20-.69 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product-moment coefficient analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราดโดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   4. สมการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาสามารถพยากรณ์ประสิทธิผล ได้ร้อยละ 51.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Y ̂ = 1.07 + .31 (X4) + .13 (X2) + .17 (X1) + .12 (X3) Z ̂ = .35(X4) + .15 (X2) + .19 (X1) + .14 (X3)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7678
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf968.33 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น