กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7674
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธนวิน ทองแพง
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.authorวรัญญาภัทร์ วรัญญ์วัฒนชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:11Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:11Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7674
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .34-.99 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขต วงพระจันทร์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำความรู้และใช้คุณธรรมในการวางแผน กำหนดนโยบายการบริหารจัดการสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางการศึกษา เช่น ครู ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยจัดทำแผนงาน/ โครงการ/ กิจกรรมที่ส่งเสริม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ทำด้วยใจรักและศรัทธา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนและสถานศึกษาอย่างยั่งยืน ให้สถานศึกษาเป็นที่พัฒนาชุมชนและพัฒนามนุษย์อย่างแท้จริง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ลพบุรี
dc.titleบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5
dc.title.alternativeThe role ofschool dministrtors towrd promoting for sufficiency economy philosophy ofsecondry schoolsin lop buriprovince (wong phr chn cluster) under the secondry eductionl service re office 5
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research has focused on studying, comparing and understanding the role of school administrator for supporting the Sufficiency Economy Philosophy of secondary schools in Lop Buri Province (Wong Phra Chan Cluster) under the Secondary Educational Service Area Office 5, according to the size of the school. The samples were; teachers and educational personnels in the secondary school in Lop Buri Province (Wong Phra Chan Cluster), with the total of 201 persons. The tool for collecting data was 5 seal rating with the discrimination power between .34-.99, The reliable questionare .99 at The statistic used for data analyzing were Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test and One-way ANOVA. The Results were as follows: 1. The role of school administrator in promoting the sufficiency economy philosophy at secondary schools in Lop Buri Province (Wong Phra Chan Cluster) were at high level. 2. The results of comparison on the role of school administrators toward promoting for sufficiency economy philosophy of secondary school in Lop Buri Province (Wong Phra Chan Cluster) by school size in overall and each aspects were not significant. 3. The results of studying the way to promoting the role of educational school administrators toward promoting of the sufficiency economy philosophy of secondary school in Lop Buri Province (Wong Phra Chan Cluster) by specialists were found that the school administrator should gain knowledge, understand the philosophy of sufficient economy and apply them for planning and creating the policies in the school administration. Promoting educational network such as teachers, parents local, wisdoms, local leaders, government and non government sectors. Preparing plan project that promote the Sufficiency Economy Philosophy. Giving both mind and admiration for doing it for the best benefit to the school. Making school the place for human and society development.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น