กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7634
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ญนภา กุลนภาดล | |
dc.contributor.advisor | ดลดาว ปูรณานนท์ | |
dc.contributor.author | สวพร มากคุณ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:16:52Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:16:52Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7634 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการให้อภัยของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษาภาคฤดูร้อน 2561 คัดเลือกคะแนนจากระดับน้อยที่สุดถึงปานกลาง และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการให้อภัย ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 ค่าอำนาจจำแนก .40-.83 และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ โดยใช้แบบแผนการวิจัย เชิงทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมน-คูลส์ ผลการศึกษา พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการให้อภัยสูงกว่านักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการให้อภัยในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การให้อภัย | |
dc.subject | การให้คำปรึกษาในอาชีวศึกษา | |
dc.subject | การให้คำปรึกษา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา | |
dc.title | ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการให้อภัยของนักเรียนอาชีวศึกษา | |
dc.title.alternative | The effects of person-centered group counseling on forgiveness of voctionl students | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This experimental research aimed to study the effects of person-centered group counseling on forgiveness of vocational students. The sample was 20 vocational students of Muangchon Commercial Technological College in Chonburi, in the summer academic year 2018, who had average score of forgiveness lowest than 25th percentile and volunteered to participate in the study. The 20 subjects were randomly assigned into two groups, the experimental group and the control group, 10 persons for each group. The research instrument were forgiveness questionnaire and the person-centered group counseling program. The intervention was administered for 12 sessions of 60-90 minutes, twice a week for 6 weeks. The research design was two-factor experiment with repeated measures on one factor. The study was divided into 3 phase: the pre-test phase, the post-test phase and the follow-up phase. The data were analyzed by using repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and tested of pair differences, using Newman-Keul's Method. The results were that there was statistically significant interaction at .05 level between the method and the duration of the experiment. The average score of forgiveness in the experimental were higher than the control groups with statistically significant difference at .05 level when measured in the post-test and follow-up phases. The levels of forgiveness average score of the experimental group in the post-test and follow-up phases were higher than the pre-test phase statistically significant different at .05 level. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการปรึกษา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น