กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7623
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.advisorสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.authorสุกัญญา จันใด
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:16:49Z
dc.date.available2023-05-12T04:16:49Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7623
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สังเคราะห์ และนิยามองค์ประกอบของจิตบริการ ในกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรโดยการบูรณาการระหว่างแนวคิดและมุมมองของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) พัฒนาและตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างจิตบริการของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 75 คน ระยะที่ 2 คือ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามเพื่อการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ประกอบ จิตบริการในกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ในมุมมองของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับเก็บข้อมูลระยะที่ 1 และแบบประเมินจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร สำหรับเก็บข้อมูลระยะที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. จิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ การมีใจรักในงานบริการ (Mind), การพัฒนาคุณภาพบริการ (Develop), การมีความรับผิดชอบ (Responsibility), การควบคุมอารมณ์และการแก้ปัญหา (Emotional control and calmness), การมีความซื่อสัตย์ (Integrity), การมีทัศนคติที่ดีต่องานบริการ (Attitude), การมีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Personality and relationship), การเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ (Understanding the Customer) และการมีความรู้ในงานที่บริการ (Knowledge) 2. โมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี พิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์มีค่า 19.397 ค่าความน่าจะเป็น 0.942 ที่องศาอิสระเท่ากับ 15 แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า RMSEA 0.240 ค่า Standardized RMR 0.0123 ค่า NFI 0.997 ค่า NNFI 0.997 ค่า CFI 0.999 ค่า GFI 0.992 ค่า AGFI 0.975 และค่า CN 814.772 3. นักศึกษาที่เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น คือในชั้นปี 3 มีจิตบริการลดลงเกือบทุกด้าน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในชั้นปี 4 นักศึกษาที่เรียนในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีมีระดับจิตบริการสูงกว่านักศึกษาที่เรียนในระดับปริญญาตรีในทุกด้าน และนักศึกษาที่เรียนในระดับการศึกษาเดียวกัน มีจิตบริการไม่แตกต่างกัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectจิตพิสัยบริการ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleการพัฒนาโมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
dc.title.alternativeA development of mesurement models of service mind in the students ofsirindhorn college of public helth
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to synthesize and define the components of service mind of students of Sirindhorn College of Public Health students by integrating theories and perspectives of stakeholders, 2) to develop and examine a validity of a measurement model of service mind in the students of Sirindhorn College of Public Health, 3) to compare the service mind levels displayed by students in each grade. The samples of phase 1 were 75 stakeholders. The samples of phase 2 were 600 students of Sirindhorn College of Public Health, Phra Boromarajchanok Institute. The research instruments were 1) a questionnaire which was used to analyze and synthesize the components of service mind of Sirindhorn College of Public Health students, 2) an evaluation form which was used to assess the level of service mind rated by the students of Sirindhorn College of Public Health. Techniques for analyzing data methods were the standard statistical analysis, reliability by Cronbach's Alpha Coefficient, Confirmatory Factor Analysis: CFA, and Multivariate Analysis of Variance: MANOVA The result was as follows: 1. The components of service mind of students of Sirindhorn College of Public Health students consisted of 9 components: having service-minded sense, development of service quality, responsibility, emotional control and calmness, integrity, having positive attitude toward the service, having good personality and relationship, understanding the needs of the customer, and having knowledge in the service work. 2. A measurement model of service mind of students of Sirindhorn College of Public Health students was consistent with the empirical data, Chi-square was 19.397, p-value was 0.942, degree of freedom (df) was 15, varied from zero with no statistical significant, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.240, Standardized Root Mean Square Residual was 0.0123, Norm Fit Index (NFI) was 0.997, Non Norm Fit Index NNFI was 0.997, Comparative Fit Index (CFI) was 0.999, goodness of fit index (GFI) was 0.992, adjusted goodness of fit index (AGFI) was 0.975, and Critical Number (CN) was 814.772 3. This study reports that, although the service mind of third-year students was reduced which compared with the one found in the first year and second year, it slightly increased in their fourth year. Students in the undergraduate degree rated a higher level of service mind than students studying Bachelor degree in all aspects. There was no statistically significant difference of service mind level reported in students from the same educational degree.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น