กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7621
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors ffective chievement of prthomsuks six students under the office of khonken primry eductionl service re office ii |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชัยพจน์ รักงาม ธร สุนทรายุทธ อัญชลี สกุลอินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การศึกษาขั้นประถม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู 327 คน จาก 210 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบเติมคำและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ค่าจำแนกระหว่าง .38 -.77 ค่าความเชื่อมั่น . 97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2555 โดยรวมพบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ เรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านเพื่อน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละด้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านครอบครัว มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ใน ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยในภาพรวมสามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของตัวพยากรณ์ปัจจัยด้านหลักสูตรกับตัวเกณฑ์มีค่าเท่ากับ .103 ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการพยากรณ์เท่ากับ 2.110 และพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ ของตัวแปรพยากรณ์ ได้สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีที่สุดในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้ Y = 30.231 + 3.277 (X1) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7621 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น