กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7620
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting school conflict under nkhonrtchsim primry eductionl service re office iii
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
ฐิติชญา ชิณโชติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ความขัดแย้ง
ผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความความขัดแย้งในโรงเรียน สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 เพื่อ 1) ศึกษาระดับของความขัดแย้งในโรงเรียน 2) ศึกษาระดับของปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในโรงเรียนกับปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 4) สร้างสมการพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียนจากปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 320 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับ ฉบับแรก สอบถามความขัดแย้งในโรงเรียน ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.42-0.78 และ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 2 สอบถามปัจจัยต่าง ๆ ในโรงเรียน โดยปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.42-0.63 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.38-0.69 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ปัจจัยด้านการสื่อสาร ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.37-0.69 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.41-0.63 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้งในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมือง ในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสารและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ และปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความขัดแย้งในโรงเรียนในระดับค่อนข้างต่ำ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ และปัจจัย ด้านการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ 4) สมการพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียนในภาพรวม มี 3 ปัจจัย เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด เรียงตามอันดับ ดังนี้ ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมือง ในองค์การ และปัจจัยด้านการสื่อสาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมของทั้ง 3 ปัจจัย เท่ากับ .165 และสามารถพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียน ได้ร้อยละ 16.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y ̂ = 1.429 + .347 (X1) + .208 (X2) + .136 (X3) และคะแนน มาตรฐาน คือ Z ̂ = .277(Z1) + .257(Z2) + .226(Z3)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7620
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น