กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7612
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of cusl reltionship model of dpttion for mthemtics study of the fourth level, the secondry eductionl service re office 18 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพรัตน์ วงษ์นาม รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ มณีนุช พรหมอารักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้าน การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,005 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 7 ตอน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 6 ตัวแปร ได้แก่ ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมทาง การเรียน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่ยอมรับได้ (Chi-Square = 560.32, df = 140, / df = 4.00, CFI = 0.99, GFI = 0.96, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.055) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 94 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลตรงต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรนิสัยทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปรับตัวด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7612 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น