กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7609
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of fctors ffecting the techers nd stff on the implementtion of qulity ssurnce ofschools under the skeo provincil dministrtion orgniztion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เทพ จิระโร เชวง ซ้อนบุญ กชพร จันทรเสนา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา การมีส่วนร่วมของครู |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการดำเนินการประกันคุณภาพของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ภาวะผู้นำด้านการประกันคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และ 4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ภาวะผู้นำด้านการประกันคุณภาพ กับการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการดำเนินการประกันคุณภาพของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้ว ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 274 ตัวอย่าง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือตามแนวคิดของครอนบาค (Cronbach alpha formula) จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้ผลทดสอบความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ .923 และทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาเท่ากับ .89 สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ทดสอบความแตกต่างใช้สถิติแบบ t-test, F-test ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่วิธี Least significant difference (LSD) ทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติ Pearson’s correlation coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลวิจัยปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ 36-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาโท รองลงมา ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนเป็นครู รองลงมา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการ ส่วนน้อย คือ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการ น้อยสุด หัวหน้างานประกัน บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมากที่สุด โดยสูงสุด การกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพแต่ละสถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มเติมจากที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กำหนดให้ มีทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมากที่สุด โดยสูงสุด การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการสร้างความรู้ ทักษะ และความมั่นใจให้กับครูและบุคลากรในสถานศึกษา และบุคลากรมีภาวะผู้นำการประกันคุณภาพการศึกษา ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุด ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทในการบริหารจัดการ ส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้วในระดับมากที่สุด โดยสูงสุด ด้านการพัฒนาและปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการตรวจสอบและทบทวนการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา และด้านการดำเนินงานการประกันคุณภาพ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานงานวิจัยปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งงาน มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว แตกต่างกัน ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และภาวะผู้นำต่อการประกันคุณภาพการศึกษา มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยพบว่า ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์สูงสุด และภาวะผู้นำต่อการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา โดยด้านการพัฒนาและปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์สูงสุด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7609 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น