กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7607
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorระพินทร์ ฉายวิมล
dc.contributor.advisorชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
dc.contributor.authorวีรวัลย์ เสืออุดม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:16:46Z
dc.date.available2023-05-12T04:16:46Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7607
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือกต่อวินัยสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลบางละมุง ในกลุ่มงานต่าง ๆ ที่มีคะแนนวินัยสุขภาพระหว่าง 103-203 คะแนน จำนวน 16 คน และสุ่มแบ่งกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดวินัยสุขภาพและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 12 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที ดำเนินการทดลอง 6 สัปดาห์ โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และเมื่อพบความแตกต่าง จึงทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรโรงพยาบาลที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือกมีคะแนนวินัยสุขภาพในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และบุคลากรโรงพยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนวินัยสุขภาพ สูงกว่าบุคลากรกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectสุขภาพ -- การดูแล
dc.subjectสุขภาพ
dc.titleผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือกต่อวินัยสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาล
dc.title.alternativeThe effect of choice theory group counseling on helth discipline of hospitl stff
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the experimental research was to study the effect of choice theory group counseling on the health discipline of hospital staff. The subjects were 16 hospital staff who had score on the health discipline scale between 103-203. They were randomly assigned into the experimental group and the control group, with eight members in each group. The instrument for data collection was the health discipline scale. The study was divided into 3 phases; pre-test, post-test and follow-up. Subjects in the experimental group received a twelve-sessions program of choice theory group counseling. Each session lasted between 60-90 minutes. The data was analyzed by the method of repeated measures designs: one between subjects variable and one within-subjects variables. Newman-Keuls method was used to test when the different pairs were found. The result revealed that the interaction between the method and the duration of the experiment was statistically significant at .05 level. The hospital staff in the experimental group had the health discipline test score higher than the control group in with statistically significant at .05 level in the post-test and follow-up phase. The hospital staff in the experimental group had the health discipline test score in the post-test and follow-up phase higher than that in the pre-test with statistically significant at .05 level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น