กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7606
ชื่อเรื่อง: | การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The utiliztion of lerning ctivity pckge using problem - bsed lerning (pbl) in socil, religion nd culture for prthomsuks 6 students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา ทองสอน ปานเพชร ร่มไทร สุมิตร คชรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม -- กิจกรรมการเรียนการสอน -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนและศึกษาเจตคติของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้ โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 42 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเป็นหน่วยในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายน่ารู้ จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถใน การแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/ E2) เท่ากับ 81.93/ 86.61 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. เจตคติของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7606 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น