กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7600
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.authorกัลญารัตน์ เทพบุตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:16:44Z
dc.date.available2023-05-12T04:16:44Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7600
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม และศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าใหม่ “พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุกูล” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 37 คน จากทั้งหมด 6 ห้องเรียน จำนวน 222 คน ซึ่งการจัดห้องเรียนเป็นแบบคละกัน มีทั้งนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนระดับตํ่า ปานกลาง และสูงอยู่ในห้องเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพหุนาม แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามในรายวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามในรายวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัด การเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
dc.title.alternativeBckwrd design instruction combined with questioning technique in mthemtic for nlysis thinking development of mthyomsuks 1 students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study were to compare the analysis thinking in mathematics and the mathematics learning achievement of Mathayomsuksa one students being taugh by Backward Design instruction combined with Questioning Technique, and to study the students’attitude towards Mathemetics. The samples of this study included 37 Mathayomsuksa I students of Tha Mai “Phun Sawat Rat Nukun” School under of the Secondary Educational Service Area Office 17 in the second semester of academic year 2017. They were chosen by using cluster random sampling from one class of six classes. The students in the class composed of high, medium and low mathematics learning ability. There were 4 instruments in this study. The first one was lesson plan with the Backward Design combined with Questioning Technique. The second one was mathematics achievement test on polynomial. The third instrument was analytical thinking ability test. And the last was the attitude towards mathematics learning questionnaire. The data were analyzed by arithmetic means, standard deviation and t-test. The results of the study were as follows; 1. The post-test score of analytical thinking ability of Mathayomsuksa one students being taught by Backward Design instruction combined with Questioning Technique was higher than the pre-test score at .05 level of significance. 2. The post-test score of mathematics of Mathayomsuksa one students being taught by Backward Design instruction combined with Questioning Technique was higher than the pre-test score at .05 level of significance. 3. The attitude towards mathematics learning of Mathayomsuksa one students toward Mathematics was at the high level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น