กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7599
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดำรัส อ่อนเฉวียง | |
dc.contributor.advisor | ดวงพร ธรรมะ | |
dc.contributor.author | ดารา ทองมนต์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:16:44Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:16:44Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7599 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ E1/ E2 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธาวาส ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธาวาส ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4/ 1 โรงเรียนวัดสุทธาวาส อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการทดสอบ ความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ค่าที t - test (Dependent samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 91.68/ 90.22 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธาวาส ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธาวาส มีความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี | |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา | |
dc.title | การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 | |
dc.title.alternative | Development of computer ssisted instruction in deprtment of creer nd technology on informtion technology for prthomsuks 4 students | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were; 1) to develop the computer assisted instruction on information technology for prathom 4 students to meet the efficiency according to = E1 /E2 criteria 2) to compare the pre-test and post-test scores of students who studied with the computer assisted instruction, and 3)to study the satisfaction of students who studied with the computer assisted instruction. The samples used in this stude were 45 Pratomsuksa 4/ 1 students at Watsudtawad School, Chonburi. They were selected by cluster random samping. The instruments used in this study were computer assisted instruction, computer assisted instruction manual,pre test,post test and satisfaction questionnaire. The statistics used for the data analysis were Mean, Standard Deviation, Percentage, and t - test. It was found that the developed computer assisted instruction Information Technology for Prathom 4 students possessed the efficiency of 91.68/ 90.22. The post-learning scores were higher than the pre - test scores with a .05 statisical significant difference. The students had the highest sarisfaction toward the developed computer assisted instruction ( = 4.62, SD = 0.50) | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น