กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7586
ชื่อเรื่อง: | การย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบโดยแบคทีเรียที่สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Biodegrdtion of diesel, gsoline, used lubricting oil, nd crude oil by biosurfctnt producing bcteri |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ สมฤทัย ลูกจันทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม -- การย่อยสลายทางชีวภาพ สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ แบคทีเรีย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ในการศึกษาครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบ ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน โดยใช้แบคทีเรียทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus subtilis สายพันธุ์ SE1, SD4 และแบคทีเรีย Bacillus siamensis สายพันธุ์ SJ1#1 ที่มีความสามารถในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในกลุ่มลิโปเปปไทด์ จากผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์สามารถเจริญและย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิดภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนได้ดีกว่าสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน โดยเมื่อพิจารณาจากการเจริญลักษณะทางกายภาพของน้ำมันพีคที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายน้ำมัน และปริมาณก๊าซทั้งหมด ที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า B. subtilis สายพันธุ์ SE1 มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบ รองลงมาคือ แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SD4 และ B. siamensis สายพันธุ์SJ1#1 ตามลำดับ ทั้งภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจนต่อมาทำการศึกษาการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ของ B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน โดยวิธีการวิเคราะห์ GC-MS ผลการศึกษาพบว่า ภายใน 35 วันมีการย่อยสลายน้ำมันเบนซิน โดยสามารถย่อยสลายทั้งสารตั้งต้นและสารตัวกลางได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนน้ำมันอีก 3 ชนิด พบว่าสามารถย่อยสลายสารตั้งต้น เปลี่ยนเป็นสารตัวกลางเพียงบางส่วน โดยสามารถย่อยสลายได้ ตามลำดับ ดังนี้ น้ำมันเบนซินดีที่สุด รองลงมาคือ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบ ตามลำดับ ดังนั้น B. subtilis สายพันธุ์ SE1 น่าจะมีความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟู สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนด้วยน้ำมันในอนาคตต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7586 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 20.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น