กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/757
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorระวีวรรณ ภูธนะกูลth
dc.contributor.authorวิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.issued2547
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/757
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพชนิดการวิจัยเชิงปรากฎการณ์สังคม โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อบรรยายและอธิบายปรากฎการณ์การดำเนินชีวิต การดูแลตนเอง และปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองตามการรับรู้ตามสถานการณ์จริงของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี ทำการศึกษามารดาหลังคลอดที่รับรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ที่มาคลอดและนอนพักรักษา ณ หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลระยอง จำนวน 5 ราย ในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2547 เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต การบันทึกเทป และการบันทึกภาคสนาม ทำการเก็บข้อมูลเริ่มที่โรงพยาบาล และติดตามเยื่อมบ้านจนครบ 6 สัปดาห์หลังคลอด โดยเยี่ยมสัปดหา์ละครั้ง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Induction) ซึ่งประกอบด้วยการทำดัชนีข้อมูล การวัดกลุ่มดัชนีข้อมูล การสร้างข้อสรุป และการพิสูจน์ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า ปรากฎการณ์ของการดำเนินชีวิตอยู่ของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี ตกอยู่ในภาวะความกลัวและเป็นทุกข์ใจ สิ่งที่กรณีศึกษากลัว คือ กลัวสังคมรังเกียจ กลัวภาวะคิดเชื้อถูกเปิดเผย กลัวเผยแพร่ไปยังลูก กลัวอันตรายจากความรุนแรง และความไม่แน่นอนของโรคและมีความทุกข์อันเกิดจากการขาดความมั่นคงในชีวิต ปรากฎการณ์ในการดำเนินชีวิตทั่ว ๆ ไป ของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี แต่พบว่าสัมพันธ์ภาพกับสามีกลับดียิ่งขึ้น การดูแลตนเองหลังการรับรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวี มีการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีจะได้มีชีวิตอยู่เพื่อเป็นที่พึ่งของลูกโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ พยาบาล และป้องกันการรับเชื้อเพิ่มจากสามี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ากรณีศึกษา ได้ให้ความสนใจในการแสวงหาความรู้ในการดูแลตนเองน้อยมาก มีการดูแลตนเองด้านจิตสังคม โดยปรับสภาพจิตอารณ์ให้คลายทุกข์ โดยใช้แนวทางศาสนาเรื่องกฎแห่งกรรม และ สัจธรรมของชีวิตที่ทุกคนจะหลีกหนีความตายไม่พ้น มาเป็นสิ่งปลอบใจ และการไม่ปล่อยให้มีเวลาว่าง กรณีศึกษาดำรงสถานภาพทางสังคมไว้ได้โดยการปกปิด การติดเชื้อไม่ให้ผู้อื่นรู้และมีการวางแผนในอนาคตโดยการจัดเตรียมด้านการเงินและที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี คือ การตระหนักว่าตนเองเป็นคนมีคุณค่าเป็นที่พึ่งของลูก ระดับการศึกษา เศรษฐานะ แรงสนับสนุนทางสังคม ระดับชั้นในสังคม สถานภาพสมรส ชนิดของครอบครัว และฐานะอำนาจในครอบครัว
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวี - - การดูแลth_TH
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - การติดเชื้อth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - วิจัยth_TH
dc.subjectโรคเอดส์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.titleการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวีth_TH
dc.title.alternativeSelf-care practice in HIV infected pos-partum womenen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2547
dc.description.abstractalternativeThis study of self-care practice in postpartum women with HIV infection is a social phenomenal qualitative research, Objectives are to describe and explain lifestyle phenomena, self-care, and conditioned factors that involve in self-care perceptions. The study was conducted in five postpartum women with HIV infection who deliver and stay in postpartum ward of Rayong hospital from 1 st December 2003 to 30 th April 2004. The data were collected by in depth interview, tape record and field notes. Data collecting was fist done at the hospital, then followed up home visit once a week and ended up about six month after childbirth. Qualitative data analysis was performed by mean of analytic induction which consists of data index construction, grouped data index measurement, conclusion formation, and conclusion verification. The results indicated that lifestyle phenomena of the postpartum women with HIV infection are in condition of fear and mental sufferings. Things that they concerned about are social discrimination, disclosure of their HIV infection, transmission of the HIV to their children severity and uncertainty of the illness, and suffering from life insecurity. No changes in lifestyle phenomena of the women after infection were found. but relationships improvement between them and their husbands. After recognition of infection, self-care practice in the postpartum women with HIV infection become better for surviving and being able to bring up their children. The ways they manage in order to get healthy are having good nutrition, following health care instruction, and preventing of acquisition of move agent from their partners. Remarked conclusions observed are that case studies paid less attention in searching for self-care education, practiced their psycho-social self-care by mean of psycho-emotion tuning to release distress in the way of Buddhism that believe in retribution and truth of life that no one get away from death, In addition, they always stayed busily. The case studies kept their social status by concealing of their infection and planning of their future. They prepared finance and residence that go well with their health condition. Factors concerning self-care of postpartum women with HIV infection are realizing of their self-esteem and capability that can support their children, education, social support, social class, marital status, family type, and power base in family.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_117.pdf9.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น