กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/756
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:53:07Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:53:07Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/756 | |
dc.description.abstract | การติดเชื้อเอชไอวีในคู่สามีภรรยาเป็นสัดส่วนสูงสุดของการติดเชื้อใหม่ในทุกปี การรับ-ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีในคู่สามีภรรยาจึงยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่หลายหน่วยงานต้องระดมความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหากันอย่างต่อเนื่อง จากผลการตรวจเลือดหญิงตั้งครรภ์พบคู่เพศสัมพันธ์มีผลเลือดต่างกัน คือสามีหรือภรรยาติดเชื้อเอชไอวี แต่อีกฝ่ายหนึ่งตรวจไม่พบการติดเชื้อ (Discordant couples) หรือไม่ยอมไปตรวจเลือด จากรายงานของคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2541-2547 มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีมาฝากครรภ์จำนวน 430 คนและมีสามีมาตรวจเลือดจำนวน 214 คน พบคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่างกันจำนวน 100 คู่ คิดเป็นร้อยละ 46.72 และข้อมูลที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2550 มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวีมาฝากครรภ์ จำนวน 677 คน พบคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่างกันจำนวน 50 คู่ คิดเป็นร้อยละ 7.39 นอกจากนี้พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 10 คนอายุระหว่าง 18-29ปี มีคู่ที่มีผลเลือดต่าง 4 คู่ (Sawatphanit, Ross, & Suwansujarid, 2004) การดำเนินการป้องกันเอชไอวีใรผู้หญิงนี้จะไม่มีทางประสบผลสำเร็จ หากไม่สามารถนำคู่เพศสัมพันธ์เข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและช่วงเวลาที่ผู้หญิงมาฝากครรภ์จึงเป็นโอกาสทองสำคัญในการที่จะดึงผู้ชายเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการได้ นอกจากนี้การเปิดเผยผลเลือดแก่คู่เพศสัมพันธ์นับเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากและต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อป้องกันผลกระทบทางด้านจิตใจและสังคมของผู้ติดเชื้อและคู่เพศสัมพันธ์ การให้บริการฝากครรภ์คู่โดยมีการให้การปรึกษาแบบคู่เกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ จึงนับว่าเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่น่าจะช่วยให้สามีภรรยาได้รับรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สามีภรรยา มีการพูดคุยสื่อสารกันได้ดีมากขึ้น ช่วยลดความรู้สึกยุ่งยากลำบากใจในการเปิดเผยผลเลือดต่อคู่เพศสัมพันธ์ของตน และเป็นรายที่ติดเชื้อเพียงคนเดียวยังสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่จากคนที่ติดแล้วไปสู่คู่เพศสัมพันธ์ได้ การมีมารดาติดเชื้อเอชไอวีและครอบครัวสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ โดยเฉพาะเป็นคู่กับสามี จะทำให้ได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป (วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์, 2549) กลวิธีการดำเนินการ จากการดำเนินการใน 5 โรงพยาบาลคือศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลพนัสนิคม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลสัตหีบกม.10 พบว่าการให้บริการฝากครรภ์คู่ หรือ การให้บริการปรึกษาแบบคู่ (Couple Counseling) เป็นมาตรการจำเพาะที่จะช่วยให้คู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่างกันได้รับการดูแล ลดการแพร่เชื่อเอชไอวี และเป็นระบบบริการที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ครอบครัว ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมโครงการสายใยรักครอบครัวให้ประสบความสำเร็จได้ง่าย การพัฒนาสมรรถนะผู้เกี่ยวข้อง พัฒนาหลักสูตร และจัดทำคู่มือแผนการสอนของหลักสูตรการให้การปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ จัดอบรมให้พยาบาลหน่วยฝากครรภ์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชลบุรี จำนวน 8 คน ให้สามารถให้บริการหญิงตั้งครรภ์และสามีมารับบริการฝากครรภ์คู่ในโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลพนัสนิคม โรงพยาบาลสัตหีบกม.10 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ในช่วงเวลา 1 ปี ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 คิดเป็นร้อยละ 10 ของแต่ละโรงพยาบาล สัมฤทธิ์ผลของโครงการ ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการฝากครรภ์คู่จากพยาบาล และผลการดำเนินงานให้บริการปรึกษาในคลินิกฝากครรภ์ของสถานบริการ ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับผลการดำเนินงานให้บริการปรึกษาในคลินิกฝากครรภ์ของสถานบริการ 5 แห่ง ผลการดำเนินงานให้บริการปรึกษาในคลินิกฝากครรภ์ของหน่วยงาน สถานบริการที่ให้บริการการปรึกษาหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกแล้วจำนวน 5 แห่ง (ร้อยละ 100) พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ให้บริการสะท้อนว่าตนเองมีความพร้อมและสามารให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสหรือคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกแล้วจำนวน 1,205 คู่ จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มากฝากครรภทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน 6,116 คน คิดเป็นร้อยละ 19.7 ซึ่งในจำนวนนี้มีถึงร้อยละ 91.7 (1,105) ที่คู่สามีภรรยาที่มาตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีพร้อมกันทั้งคู่และพบว่าในคู่สามีภรรยาที่ยอมมาตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีพร้อมกันทั้งคู่นี้ เกือบทุกคู่มาฟังผลเลือดพร้อมกันร้อยละ 90.5 (1,090 คู่) สำหรับผลการตรวจเลือดพบว่าร้อยละ 90.3 (1,088 คู่) เป็นคู่สามีภรรยาที่ไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตามพบคู่สามีภรรยาที่มีผลการตรวจเลือดพบว่าติดเชื้อเอชไอวี ทั้งสิ้นร้อยละ 1.4 (17 คู่) โดยการเป็นคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่างร้อยละ 0.9 (11 คู่) ซึ่งสามีมีผลการตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี ในสัดส่วนที่มากกว่าภรรยา 0.6 : 0.3 และมีคู่สามีภรรยาที่ผลการตรวจเลือดพบการติดเชื้อเอชไอวีทั้งคู่ร้อยละ 0.5 ข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรคในการให้บริการปรึกษาเกี่ยวเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ 1. ปัญหาอุปสรรคด้านผู้ให้บริการปรึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ปรึกษาจากโรงพยาบาลสะท้อนถึงปัญหาด้านผู้ให้บริการของหน่วยงานว่า 1) มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกอบรมและสามารถให้บริการปรึกษาน้อย หน่วยงานบางแห่งมีผู้ให้บริการปรึกษาเพียงคนเดียว บางแห่งกลุ่มตัวอย่างมีการย้ายงานและเปลี่ยนงานบ่อย 2) กลุ่มตัวอย่างที่มาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ที่ย้ายงานบางส่วนยังขาดทักษะการให้บริการปรึกษา 3) กลุ่มตัวอย่างที่รับผิดชอบมีภาระงาน โดยที่กลุ่มตัวอย่างคนหนึ่งๆ ต้องรับผิดชอบหลายงาน ประกอบกับผู้มารับบริการมีจำนวนมากและให้บริการในช่วงบ่าย ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีเวลาในการให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์น้อยลง ส่งผลให้การให้บริการปรึกษาไม่ครอบคลุม 4) กลุ่มตัวอย่างยังมีปัญหาขาดความมั่นใจในการใช้ทักษะการให้การปรึกษาบางทักษะ และ 5) กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาด้านการสื่อสารกับผู้รับบริการที่เป็นคนต่างด้าว 2. ปัญหาอุปสรรคด้านผู้รับบริการปรึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจากโรงพยาบาลสะท้อนถึงปัญหาด้านผู้รับบริการปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ของหน่วยงานว่าในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้รับผิดชอบสะท้อนปัญหาด้านผู้รับบริการว่า 1) ผู้รับบริการทั้งหญิงตั้งครรภ์และสามียังคงมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเจาะเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีของคู่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเจาะเลือด ที่ยังมีราคาแพงและเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นสำหรับผู้รับบริการ 2) ปัญหาด้านวัฒนธรรมของการมาฝากครรภ์คู่ยังคงมีการถือปฏิบัติน้อย 3) ผู้รับบริการโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการมาฝากครรภ์คู่ เนื่องจากแยกกันอยู่คนละพื้นที่กับสามีทำให้ไม่สามรถพาสามีมาฝากครรภ์ด้วยได้ บางรายทราบผลเลือดว่าติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว และแต่งงานใหม่จึงไม่อยากให้คู่สมรสรับทราบ ผู้รับบริการบางส่วนมีอายุน้อยทำให้ตัดสินใจเองไม่ได้ และบางส่วนเป็นคนต่างด้าวทำให้มีปัญหาการสื่อสาร 3. ปัญหาอุปสรรคด้านระบบบริหารจัดการของหน่วยงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจากโรงพยาบาลสะท้อนถึงปัญหาด้านระบบบริหารจัดการของหน่วยงาน เกี่ยวกับการบริการปรึกษาเกี่ยวเอชไอวีในคู่สามีภรรยาที่มาฝากครรภ์ว่ายังคงมีปัญหาหลายด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาด้านผู้บริหาร เช่น บางหน่วยงานมีการเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยครั้ง ผู้บริหารของหน่วยงานบางแห่งไม่ทราบนโยบายจึงไม่ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนงานให้บริหารปรึกษาในหญิงตั้งครรภ์ ทั้งด้านกลุ่มตั้งอย่างงบประมาณ และสถานที่ ผู้บริหารไม่เข้าใจสิทธิผู้ป่วยเอดส์ ไม่รับรู้นโยบาย ไม่สนับสนุน กลุ่มตัวอย่าง งบประมาณและสถานที่ ให้สถานที่ไม่เป็นสัดส่วน 2) ปัญหาด้านระบบงานและการประสานงาน เช่น ขาดการบูรณาการงานให้บริการ โดยที่ยังมีการให้บริการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นงานเอดส์และงานให้บริการฝากครรภ์ ห้องบัตร ห้องปฏิบัติการ และห้องเวชระเบียน และระบบการแบ่งงานไม่ชัดเจนทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการให้บริการ ทำให้ผู้รับบริการไม่แน่ใจว่าความลับของตนเองยังเป็นความลับจริงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนจุดหรือหน่วยให้บริการในการเข้ารับบริการแต่ละครั้ง ภาระงานมากของกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณมีมากทำให้คุณภาพงานไม่ได้ตามเป้าหมาย 3) ปัญหาด้านสถานที่ เช่นสถานที่ให้บริการปรึกษาในหน่วยงานไม่เหมาะสม กล่าวคือไม่เป็นสัดส่วน สถานบริการบางแห่งมีคนพลุกพล่านหรือเดินผ่านไปมา 4) ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายเช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี และเป็นภาระของผู้รับบริการ หน่วยงานบางแห่งยังคงมีปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะของสามีของหญิงตั้งครรภ์ และ 5) ขาดสิ่งสนับสนุนการให้บริการปรึกษา เช่น สื่อต่างๆ การดำเนินการต่อเนื่อง ขยายโครงการไปทุกโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี โดยเริ่มจากโรงพยาบาลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้แก่ โรงพยาบาลพานทองและโรงพยาบาลบ่อทอง เป็นต้นและเตรียมโครงการอบรมการให้บริการฝากครรภ์คู่ หรือ การให้บริการปรึกษาแบบคู่ให้อาสาสมัครเพื่อช่วยงานพยาบาลให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดชลบุรี กำหนดนโยบายเรื่องการให้บริการฝากครรภ์คู่กำหนดมาตรฐานบริการ รวมถึงจัดสรรงบประมาณและบุคลากร รวมทั้งการเพิ่มวันเวลาในการให้บริการให้เพียงพอ 2. โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดชลบุรีพัฒนาแนวทางการให้บริการแบบเป็นคู่ตั้งแต่การฝากครรภ์จนถึงหลังคลอดโดยบูรณาการกับโครงการโรงเรียนพ่อแม่และโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว 3. โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดชลบุรีประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบริการฝากครรภ์คู่ผ่านสื่อแขนงต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุฯ 4. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดชลบุรี มีนโยบายตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในคู่สามีภรรยาที่มารับบริการ โดยให้มีการจัดทำในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดชลบุรี ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ให้สามีภรรยาที่เป็นลูกจ้างของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถใช้สิทธิ์การลามารับบริการฝากครรภ์คู่ได้โดยไม่ต้องสูญเสียรายได้เมื่อมีใบรับรองแพทย์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการด้านการควบคุมและป้องกันปัญหาเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มผู้รับบริการฝากครรภ์และคลอดบุตร | th_TH |
dc.type | Research | |
dc.year | 2553 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_095.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น