กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7542
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบปัจจัยการเรียนรู้และการเปรียบเทียบปัจจัยการเรียนรู้และการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองระหว่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comprison of lerning fctors nd utonomous English lerning between Grde 12 Students in Sceince-Mthemtics nd Art-English Progrms
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุบล ธเนศชัยคุปต์
ณัฐวิทย์ ปรีพูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ภาษาอังกฤษ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองและการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองระหว่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์กับนักเรียนสายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษ โรงเรียนชลราษฎรอํารุง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กําลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนชลราษฎรอํารุง จังหวัดชลบุรี จํานวน 211 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ มีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง (2.958) และนักเรียนสายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษมีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (3.256) 2. นักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์มีระดับปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (3.086) 3. นักเรียนสายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษมีระดับ ปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (3.183) 4.การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 5.การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักเรียน สายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษ ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 6. แผนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลราษฎรอํารุง จังหวัดชลบุรี ที่แตกต่างกันมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยนักเรียนสายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษ มีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองที่มากกว่านักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์และ 7.แผนการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลราษฎรอํารุง จังหวัดชลบุรี ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองที่ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยนักเรียนสายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษ มีปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองที่มากกว่านักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7542
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น