กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7539
ชื่อเรื่อง: | มอญ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี : วิถีและพลัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Mon in bnmung subdistrict bnpong district rtchburi province: wy of life nd power |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญเชิด หนูอิ่ม ภารดี มหาขันธ์ อิมธิรา อ่อนคำ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา มอญ -- ความเป็นอยู่และประเพณี มอญ -- ราชบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้ามาตั้งถิ่นฐานพัฒนาการวิถีชีวิต และบทบาทของชาวมอญ ตําบลบ้านม่วง อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมถึงวิเคราะห์การผสมกลมกลืนของมอญจนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยโดยการใช้พลังต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนเพื่อให้ความเป็นมอญยังคงดํารงอยู่ได้ในปัจจุบันโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและนําเสนอในแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชาวมอญ ตําบลบ้านม่วง ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งชาวมอญที่อาศัยอยู่ในตําบลบ้านม่วงนี้ ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดราชบุรี การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวมอญยังได้รับความเมตตาจากพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงพระราชทานพื้นที่ให้จึงทําให้ชาวมอญได้มีที่อยู่อาศัย และมีที่ทํากินมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อชาวมอญอพยพเข้ามาก็ได้มีบทบาทช่วยเหลืองานราชการของไทย อยู่เสมอและยังมีบทบาทอยู่ในราชวงศ์ของไทยด้วยจึงทําให้ชาวมอญได้เป็นที่ยอมรับจากคนในสังคมไทยและทําให้ชาวมอญได้มีวิถีที่สุขสบายมาโดยตลอด ชาวมอญตําบลบ้านม่วงแห่งนี้ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาชีพหลักคือ การทํานา การจับสัตว์น้ำและภูมิปัญญาด้านการทอผ้า เมื่อประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศเกิดขึ้น จึงทําให้วิถีชีวิตของชาวมอญเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มีวิถีชีวิตแบบพอยังชีพได้เปลี่ยนไปเป็นแบบทุนนิยมดังเช่นสังคมไทยปัจจุบันถือว่าวิถีชีวิตของชาวมอญ ได้รับผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในสังคมไทย จนทําให้ชาวมอญตําบลบ้านม่วงแห่งนี้ได้กลายไปเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในที่สุด อย่างไรก็ตาม ชาวมอญที่นี่ก็ยังสามารถ ที่จะปรับตัวได้เป็นอย่างดีอันเนื่องจากการมีรูปร่างหน้าตารวมถึงการนับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับ คนไทย แต่มีข้อที่แตกต่างไปจากคนไทยคือ ภาษามอญและวัฒนธรรมความเชื่อบางประการ ดังนั้น จึงทําให้ชาวมอญแห่งนี้ยังคงมีวัฒนธรรมและประเพณีที่เข้มแข็งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความสามัคคีของคนในชุมชนที่ร่วมใจกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ รวมถึงพลังของชาวมอญทั้งในอดีตและพลังในปัจจุบัน ที่ทําให้ชาวมอญได้กล้าแสดงออกถึงความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง โดยการใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากความพยายามดังกล่าวนี้ทําให้ชาวมอญตําบลบ้านม่วงสามารถที่จะดํารงอยู่ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7539 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 10.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น