กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7538
ชื่อเรื่อง: | นิทานพื้นบ้านกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Locl wisdom preservtion vi folktles t ksetsomboon district, chiyphum province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิศากร สิงหเสนี นันท์ชญา มหาขันธ์ อรัญญา แสนสระ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา ภูมิปัญญาชาวบ้าน นิทานพื้นเมือง -- ชัยภูมิ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านและเสนอรูปแบบการสืบสานนิทานพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นนิทานพื้นบ้านประเภทมุขปาฐะที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมในช่วงปีพ.ศ. 2557-2558 ผู้บอกข้อมูลเป็นคนที่มีภูมิลำเนาในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 45 คน นิทานพื้นบ้านที่รวบรวมได้มีจำนวน 226 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า นิทานทั้ง 226 เรื่อง สามารถจำแนกได้ 9 ประเภท ได้แก่ นิทานมุขตลก 112 เรื่อง นิทานอธิบายเหตุ 31 เรื่อง นิทานชีวิต 28 เรื่อง นิทานคติ 22 เรื่อง นิทานเรื่องผี 14 เรื่อง นิทานประจำถิ่น 9 เรื่อง นิทานเรื่องสัตว์ 6 เรื่อง นิทานศาสนา 2 เรื่องและนิทานเข้าแบบ 2 เรื่อง เมื่อนำกฎดึกดำบรรพ์ของนิทานพื้นบ้านมาวิเคราะห์โครงสร้างนิทานพื้นบ้านจะพบว่า นิทานทุกเรื่องสอดคล้องกับกฎของการสร้างงเรื่องเชิงเดี่ยวและเรื่องของความสมเหตุสมผลส่วนกฎที่ไม่เคร่งครัด คือกฎของฝาแฝด กฎของความสำคัญของตำแหน่งต้นและตำแหน่งท้าย และกฎของการสร้างแบบอย่าง นิทานพื้นอำเภอเกษตรสมบูรณ์สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน 7 ด้าน คือ สภาพความเป็นอยู่ ลักษณะครอบครัว การประกอบอาชีพ ประเพณี ด้านความเชื่อ ด้านค่านิยม ด้านบทบาทของสมาชิกในสังคม บทบาทของนิทานพื้นบ้านมี 5 ประการสำคัญ ได้แก่ ให้ความเพลิดเพลิน ช่วยระบายอารมณ์เก็บกดคับข้องใจของชาวบ้าน เป็นเครื่องให้การศึกษาและเสริมสร้างจินตนาการ เป็นเครื่องสะท้อนวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชาวบ้าน และเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นมรดกสำคัญทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฎในนิทานพื้นบ้านจำนวน 9 ด้าน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ การแต่งกาย การถนอมอาหาร ความเชื่อและพิธีกรรม การรักษาโรค ภาษาและวรรณกรรม และดนตรีและการแสดง ส่ววรูปแบบการสืบสานนิทานและภูมิปัญญาท้องถิ่น มี 4 ช่องทาง ได้แก่ การสืบสานโดยชุมชน การสืบสานโดยสถานศึกษา โดยสื่อสารมวลชน และการสืบสานแบบผสมผสานและมีส่วนร่วม |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7538 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น