กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7538
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนิศากร สิงหเสนี
dc.contributor.advisorนันท์ชญา มหาขันธ์
dc.contributor.authorอรัญญา แสนสระ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:02:47Z
dc.date.available2023-05-12T04:02:47Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7538
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านและเสนอรูปแบบการสืบสานนิทานพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นนิทานพื้นบ้านประเภทมุขปาฐะที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมในช่วงปีพ.ศ. 2557-2558 ผู้บอกข้อมูลเป็นคนที่มีภูมิลำเนาในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 45 คน นิทานพื้นบ้านที่รวบรวมได้มีจำนวน 226 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า นิทานทั้ง 226 เรื่อง สามารถจำแนกได้ 9 ประเภท ได้แก่ นิทานมุขตลก 112 เรื่อง นิทานอธิบายเหตุ 31 เรื่อง นิทานชีวิต 28 เรื่อง นิทานคติ 22 เรื่อง นิทานเรื่องผี 14 เรื่อง นิทานประจำถิ่น 9 เรื่อง นิทานเรื่องสัตว์ 6 เรื่อง นิทานศาสนา 2 เรื่องและนิทานเข้าแบบ 2 เรื่อง เมื่อนำกฎดึกดำบรรพ์ของนิทานพื้นบ้านมาวิเคราะห์โครงสร้างนิทานพื้นบ้านจะพบว่า นิทานทุกเรื่องสอดคล้องกับกฎของการสร้างงเรื่องเชิงเดี่ยวและเรื่องของความสมเหตุสมผลส่วนกฎที่ไม่เคร่งครัด คือกฎของฝาแฝด กฎของความสำคัญของตำแหน่งต้นและตำแหน่งท้าย และกฎของการสร้างแบบอย่าง นิทานพื้นอำเภอเกษตรสมบูรณ์สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน 7 ด้าน คือ สภาพความเป็นอยู่ ลักษณะครอบครัว การประกอบอาชีพ ประเพณี ด้านความเชื่อ ด้านค่านิยม ด้านบทบาทของสมาชิกในสังคม บทบาทของนิทานพื้นบ้านมี 5 ประการสำคัญ ได้แก่ ให้ความเพลิดเพลิน ช่วยระบายอารมณ์เก็บกดคับข้องใจของชาวบ้าน เป็นเครื่องให้การศึกษาและเสริมสร้างจินตนาการ เป็นเครื่องสะท้อนวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชาวบ้าน และเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นมรดกสำคัญทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ประกอบด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฎในนิทานพื้นบ้านจำนวน 9 ด้าน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ การแต่งกาย การถนอมอาหาร ความเชื่อและพิธีกรรม การรักษาโรค ภาษาและวรรณกรรม และดนตรีและการแสดง ส่ววรูปแบบการสืบสานนิทานและภูมิปัญญาท้องถิ่น มี 4 ช่องทาง ได้แก่ การสืบสานโดยชุมชน การสืบสานโดยสถานศึกษา โดยสื่อสารมวลชน และการสืบสานแบบผสมผสานและมีส่วนร่วม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน
dc.subjectนิทานพื้นเมือง -- ชัยภูมิ
dc.titleนิทานพื้นบ้านกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
dc.title.alternativeLocl wisdom preservtion vi folktles t ksetsomboon district, chiyphum province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to collect and analyze the folktales, to investigate local wisdom in the folktales, and to present ways to inherit these folktales and local wisdom. The data were collected during 2014 – 2015, including 226 stories told by 45 narrators residing in Kasetsomboon District, Chaiyaphum Province. It was found that the 226 folktales were classified into 9 categories; 112 jests, 31 explanatories, 28 novellas, 22 fables, 14 ghost stories, 9 sages, 6 animal tales, 2 religious tales and 2 formula tales. According to the Epic of Folk Narrative, their structures harmonized to Single-stranded and Logic laws while Non-strict laws were those of twins, Initial and Final position, and Patterning. On the reflection of folk lifestyles, seven aspects including living conditions, family characteristics, occupations, customs, beliefs, values and roles as members of society were explained accordingly. The roles of folktales were categorized into 5 groups: those for entertainment; helping release pressure and frustration; education; and imagination. These reflected ways of life, local wisdom and local literature. Nine aspects of local wisdom found in the folktales were habitats; occupations; tools; dressing; food preservation; beliefs and rites; disease treatments; language and literature; and music and performances. Finally, four ways of inheriting local wisdom and folktales were carried on through community, schools, mass media, and the combination of those mentioned and people’s involvement.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineไทยศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น