กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7535
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์การไม่ปฏิบัติตามหลักความร่วมมือการสนทนาภาษาอังกฤษผ่านภาพยนต์เรื่องสั้นสิงคโปร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An nlysis of mxim violtion in English converstions through Singporen short films |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาดา รัตนวาณิชย์พันธ์ สาวิตรี อานมณี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาษาอังกฤษ -- บทสนทนาและวลี มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการไม่ปฏิบัติหลักการความร่วมมือการสนทนาผ่านภาพยนตร์เรื่องสั้นสิงคโปร์ จำนวนทั้งหมด 6 เรื่อง โดยแบ่งประเภทของการละเมิดออกเป็นสองประเภท และอีกสี่ด้าน คือ การละเมิดหลัก (Violating the maxim) และการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) โดยการละเมิดหลักทั้ง 2 ประเภทประกอบด้วย หลักด้านคุณภาพ หลักด้านปริมาณ หลักด้านความสัมพันธ์ และหลักด้านวิธีการข้อมูลที่ศึกษาเป็นบทสนทนาภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์เรื่องสั้น สิงคโปร์ จำนวน 6 เรื่อง 78 บทสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์ความถี่ และค่าร้อยละ รวมทั้งการอธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิจัยพบการไม่ปฏิบัติตามหลักการความร่วมมือการสนทนาของตัวละครทั้งสองประเภทได้แก่ การละเมิดหลัก และการละเมิดหลักแบบมีนัย 2. ประเภทของการละเมิดหลัก (Violating the maxim) ของตัวละครที่พบมากที่สุดได้แก่ การละเมิดหลักด้านความสัมพันธ์ (Maxim of relation) คิดเป็นร้อยละ 66.67 รองลงมาได้แก่ การละเมิดหลักด้านคุณภาพ (Maxim of quality) คิดเป็นร้อยละ 22.22 และการละเมิดหลักด้านวิธีการ (Maxim of manner) คิดเป็นร้อยละ 11.11 ตามลำดับ ทั้งนี้ไม่พบการละเมิดหลักด้านปริมาณ (Maxim of quantity) 3. ประเภทของการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) ที่พบมากที่สุดได้แก่ การละเมิดหลักแบบมีนัยด้านคุณภาพ (Maxim of quality) คิดเป็นร้อยละ57.97 รองลงมาพบการละเมิดแบบมีนัยในด้านปริมาณ (Maxim of quantity) คิดเป็นร้อยละ 24.64 และการละเมิดแบบมีนัยด้านความสัมพันธ์ (Maxim of relation) คิดเป็นร้อยละ 15.94 สุดท้ายคือการละเมิดหลักแบบมีนัยด้านวิธีการ (Maxim of manner) คิดเป็นร้อยละ 1.45 ผลการวิจัยดังกล่าว สรุปได้ว่าการละเมิดหลัก และการละเมิด หลักแบบมีนัยขึ้นอยู่กับความตั้งใจอุปนิสัยและลักษณะของผู้พูดเป็นสำคัญ 4. เมื่อเปรียบเทียบประเภทของการละเมิดหลัก (Violating the maxim) และการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) พบว่า มีการละเมิดหลักแบบมีนัย (Flouting the maxim) มากกว่าการละเมิดหลัก (Violating the maxim) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7535 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 947.82 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น