กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7534
ชื่อเรื่อง: | กลวิธีการแปลคำขวัญโฆษณา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Trnsltion strtegies of dvertisement slogns |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรอุษา พิมพ์สวัสดิ์ สมภพ ใหญ่โสมานัง พร้อมพรรณ กลิ่นหอม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คำขวัญ ภาษาอังกฤษ -- การแปล การแปล การแปลและการตีความ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษากลวิธีการแปลที่พบในการแปลคําขวัญโฆษณาและความถี่ในการนํามาใช้และ 2. เพื่อศึกษาความชื่นชอบของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อกลวิธีการแปลที่พบในคําขวัญโฆษณาฉบับแปลภาษาไทยที่ได้จากการเก็บข้อมูลทางโทรทัศน์และกลวิธีการแปลคําขวัญโฆษณาฉบับแปลภาษาไทยที่ผู้วิจัยแปล ซึ่งคําขวัญโฆษณาที่ใช้วิเคราะห์กลวิธีการแปลมี 44 คําขวัญ โดยกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ กลวิธีการแปลได้ประยุกต์มาจากแนวคิดเรื่องกลวิธีการแปลของ Malone (1988) และสัญฉวีสายบัว (2550) และมีการจัดทําแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำขวัญโฆษณาที่ได้จากการเก็บข้อมูลและคําขวัญโฆษณาที่ผู้วิจัยแปลงให้ผู้ตอบแบบสอบถามจํานวน 200 คน เลือกคําขวัญโฆษณาที่ชื่นชอบมากที่สุด 1 คําขวัญ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลวิธีการแปลที่พบในการแปลคําขวัญโฆษณามี 7 กลวิธีจาก 9 กลวิธีและพบว่า มีการนํามาใช้ในการแปลคำขวัญโฆษณาทั้งหมด 135 ครั้ง โดยอันดับ 1 คือ กลวิธี Diffusion พบ 44 ครั้งอันดับ 2 คือ กลวิธี Reduction พบ 29 ครั้งอันดับ 3 คือ กลวิธี Reordering พบ 22 ครั้งอันดับ 4 คือ กลวิธี Substitution พบ 16 ครั้งอันดับ 5 พบ 2 กลวิธีคือ กลวิธี Equation และกลวิธี Divergence พบกลวิธีละ 10 ครั้งและกลวิธีการแปลที่พบเป็นอันดับสุดท้ายคือ กลวิธี Condensation ซึ่งพบทั้งหมด 2 ครั้งแต่กลวิธีการแปลที่ไม่พบเลยมี 2 กลวิธีคือ กลวิธี Convergence และกลวิธี Amplification นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบกลวิธีการแปลแบบอื่น ซึ่ง Malone (1988) ไม่ได้กล่าวถึง คือ การเติมคําเพื่อให้สอดคล้องกับภาพโฆษณาและการเติมคําเพื่อให้เกิดการสัมผัสสระ 2. จาก 7 ตัวแทนของกลวิธีการแปลที่ใช้ศึกษาความชื่นชอบของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า 1. กลวิธีการแปลที่พบจากการเก็บข้อมูลที่ได้รับเลือกน้อยกว่ากลวิธีที่ผู้วิจัยแปลมีจํานวน 5 กลวิธีได้แก่ กลวิธี Equation กลวิธี Substitution กลวิธี Divergence กลวิธี Condensation และกลวิธี Reordering 2. กลวิธีการแปลที่พบจากการเก็บข้อมูลที่ได้รับเลือกมากกว่ากลวิธีที่ผู้วิจัยแปลมีเพียง 1 กลวิธีคือ กลวิธี Diffusion และ 3. กลวิธีการแปลที่พบจากการเก็บข้อมูลที่ได้รับเลือกทำกับกลวิธีที่ผู้วิจัยแปลมีจํานวน 1 กลวิธีคือ กลวิธี Reduction |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7534 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น