กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7532
ชื่อเรื่อง: | กลวิธีการตอบปฏิเสธในการสื่อสารภาษาอังกฤษในที่ทำงานของพนักงานชาวเมียนมาและชาวอเมริกัน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Refusl strtegies in english communiction used by Burmese nd Americn office workersin the workplce |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมบูรณ์ เจตน์จำลอง นันทวรรณ ระหงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสนทนา ภาษาอังกฤษ -- การสื่อสาร ชาวอเมริกัน -- การสื่อสาร การสื่อทางภาษาพูด ชาวพม่า -- การสื่อสาร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีในการปฏิเสธในการสื่อสารภาษาอังกฤษในที่ทำงานในวัจนกรรมการขอร้องการเชิญ การเสนอให้และการแนะนำมุ่งเน้นศึกษาตัวแปรด้านสถานภาพตำแหน่งงานในที่ทำงานประกอบไปด้วยสถานภาพตำ แหน่งงานสูงกว่าเท่ากัน และต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วยชาวพม่าที่ทำงานและอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาจำนวน 15 คน และชาวอเมริกันที่ทำงานและอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ Discourse Completion Test (DCT) ปรับปรุงจากเครื่องมือในงานวิจัยของ Beebe, Takahashi and Uliss-Weltz (1990) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาและกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันใช้ในการตอบปฏิเสธมากที่สุด คือ กลวิธีการปฏิเสธแบบอ้อม และกลวิธีย่อยแบบอ้อมที่กลุ่มตัวอย่างใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กลวิธีการตอบปฏิเสธโดยอธิบายถึงเหตุผล กลวิธีการตอบปฏิเสธโดยแสดงความรู้สึกซาบซึ้งในคำพูดของคู่สนทนาและกลวิธีในการตอบปฏิเสธโดยแสดงความเสียใจ 2. เมื่อพิจารณาตัวแปรด้านวัจนกรรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาใช้กลวธีในการตอบปฏิเสธแบบอ้อมมากว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันทุกวัจนกรรม ส่วนกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันใช้กลวิธีการปฏิเสธแบบตรงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาในทุกวัจนกรรม 3. เมื่อพิจารณาตัวแปรด้านสถานภาพตำแหน่งงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ชาวอเมริกันใช้กลวิธีในการตอบปฏิเสธแบบตรงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวพม่าในทุกสถานภาพตำแหน่งงาน ส่วน กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาใช้กลวิธีการปฏิเสธแบบอ้อมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันในทุกสถานภาพตำแหน่งงาน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7532 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น