กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7518
ชื่อเรื่อง: | การสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Automtic item genertion in mthemtics ssessment with grde six students using computer softwre |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสรี ชัดแช้ม ศศิธร จันทรมหา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) คณิตศาสตร์ -- ข้อสอบและเฉลย -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักเรียนประถมศึกษา -- คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบต้นแบบกับผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิธีดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิด AIG (Automatic Item Generation) ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสร้างข้อสอบอัตโนมัติ วิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระยะที่ 3 การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบต้นแบบกับผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2559 แล้ว จํานวน 30 คน ทดสอบแบบทดสอบทั้ง 2 ฉบับ แล้วนําผลการสอบมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สร้างโมเดลข้อสอบต้นแบบได้ 44 ข้อ จากข้อสอบ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2553 ที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบด้วยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์แล้ว 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer และพิมพ์ URL ‘http://www.aigtest.com’ โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมในการใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการสอบจากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบจากแบบทดสอบต้นแบบ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ .96 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7518 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น