กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7512
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบ O-Net ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างวิธี IRT-LR กับวิธี Sibtest
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comprison of detecting differentil item functioning in grde 12 O-Net results between the irt-lr nd sibtest methods
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
พิจักษณา กาวี
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: แบบทดสอบ -- การประเมิน
แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน
ข้อสอบ -- การวิเคราะห์
การวัดผลทางการศึกษา -- ข้อสอบและเฉลย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) กับความลำเอียงของข้อสอบ (Item Bias) มีความแตกต่างกัน การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบเป็นกระบวนการที่ใช้วิธีการทางสถิติในการตรวจสอบ ส่วนความลำเอียงของข้อสอบเป็นกระบวนการตัดสินความยุติธรรมของข้อสอบ โดยนำผลการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ คุณภาพของข้อสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งฉบับก่อนและฉบับหลังตัด DIF ตรวจสอบความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบ O-NET ทั้งฉบับก่อนและฉบับหลังตัด DIF ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบระหว่างวิธี IRT-LR กับ วิธี SIBTEST และเปรียบเทียบอัตรา ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และ 2 ของผลการตรวจ DIF ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบตามหลักการของทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ 3 พารามิเตอร์ ด้วยโปรแกรม Xcalibre Version 4.2.2 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) แบบทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งฉบับก่อน และฉบับหลังตัด DIF มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) และค่าความยากของข้อสอบ (b) แตกต่างกัน ส่วนค่าโอกาสการเดาของข้อสอบ (c) ไม่เกิน 0.3 โดยมีค่าความเที่ยงของแบบทดสอบฉบับก่อนและหลังตัด DIF แตกต่างกัน 2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบ O-NET ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ฉบับก่อนและฉบับหลังตัด DIF มี 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ O-NET ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า วิธี IRT-LR ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี SIBTEST คิดเป็นร้อยละ 41.86 และทั้ง 2 วิธี พบ DIF ตรงกัน จำนวน 65 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 15.12 (p < 0.05) 4) การเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และ 2 พบว่า มี 2 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ที่มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำ คือ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ โดยมี 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 2 สูง คือ สาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น