กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7511
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะทิพย์ ประดุจพรม | |
dc.contributor.advisor | เสรี ชัดแช้ม | |
dc.contributor.author | ชนิตา รุ่งเรือง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:02:41Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:02:41Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7511 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | กรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาเป็นความเชื่อที่มีต่อการพัฒนาระดับเชาวน์ปัญญา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีจัดทำคลังข้อคำถามสำหรับมาตรวัดกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญา พัฒนาโปรแกรม จำแนกประเภทกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญา โดยใช้การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์แบบปรับ ความยาว และเปรียบเทียบกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในแต่ละ กลุ่มสาขาวิชา ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างข้อคำถามและวิเคราะห์คุณภาพของ ข้อคำถาม สำหรับมาตรวัดกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญา 2) การจัดทำคลังข้อคำถามสำหรับ มาตรวัดกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญา 3) การพัฒนาโปรแกรมจำแนกประเภทกรอบความคิด ด้านเชาวน์ปัญญา โดยใช้การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์แบบปรับความยาว และ 4) การเปรียบเทียบ กรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 1-4 กลุ่มสาขาวิชาละ 60 คน ด้วยการทดสอบไค-สแควร์ (ChiSquare Test) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ข้อคำถามที่มีคุณภาพสำหรับมาตรวัดกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาทั้ง 9 ด้าน มีจำนวนทั้งสิ้น 99 ข้อ 2) คลังข้อคำถามเป็นคลังย่อย 9 คลังย่อย ได้แก่ ด้านภาษาและภาษาศาสตร์ (6 ข้อ) ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (7 ข้อ) ด้านมิติสัมพันธ์ (9 ข้อ) ด้านดนตรี (11 ข้อ) ด้านร่างกายและ การเคลื่อนไหว (8 ข้อ) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (15 ข้อ) ด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (15 ข้อ) ด้านธรรมชาติวิทยา (15 ข้อ) และด้านการคงอยู่ของชีวิต (13 ข้อ) 3) โปรแกรมจำแนกประเภทกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญา โดยใช้การทดสอบด้วย คอมพิวเตอร์แบบปรับความยาวซึ่งมีลักษณะเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ งานระดับมาก 4) การเปรียบเทียบกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน 3 กลุ่ม สาขาวิชา ปรากฏว่า นักศึกษามีกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญารายด้าน แตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว และด้านธรรมชาติวิทยา (p <.05) | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | เชาวน์ -- การทดสอบ | |
dc.subject | ปัญญา -- การทดสอบ | |
dc.subject | ความคิดและการคิด | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา | |
dc.title | การทดสอบจำแนกประเภทด้วยคอมพิวเตอร์แบบปรับความยาวสำหรับมาตรวัดกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี | |
dc.title.alternative | Vrible-length computerized clssifiction testing for scle of intelligence mindset mong undergrdute students | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Intelligence mindset is a belief about development of their own intelligence. This research aims to develop intelligence mindset scale for undergraduate student, to construct an item bank for an intelligence mindset scale, to develop intelligence mindset classification program using variable-length computerized testing, and to compare intelligence mindset among undergraduate students. The study process consists of four phases: 1) construct quality items for an intelligence mindset scale, 2) construct a quality item bank for an intelligence mindset scale, 3) develop intelligence mindset classification program using variable-length computerized testing, and 4) compare intelligence mindset among undergraduate student in Health Sciences, Social Sciences, and Sciences and Technology from Mahasarakham University (60 students for each group) by using Chi-Square Test. The research results indicated that 1) The intelligence mindset scale includes 9 subscales, 99 quality items. 2) The items were used to construct a quality item bank for an intelligence mindset scale that was divided into nine sub-item banks including of Verbal-Linguistic (6 items), Logical-Mathematical (7 items), Visual-Spatial (9 items), Musical (11 items), Bodily-Kinaesthetic (8 items), Interpersonal (15 items), Intrapersonal (15 items), Naturalistic (15 items), and Existential (13 items). 3) Intelligence mindset classification program using variable-length computerized testing, a web application suitable for use in high level. 4) The intelligence mindset among undergraduate students in LogicalMathematical component, Bodily-Kinesthetic component, and Naturalistic component were found the significant difference at the .05 level. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น