กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7508
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง | |
dc.contributor.advisor | นันทา สู้รักษา | |
dc.contributor.author | สมศักดิ์ เจริญพูล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:02:39Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:02:39Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7508 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารายละเอียดกรอบเนื้อหาของภาวะสันนิษฐานความพึงพอใจในงาน (JS) ความผูกพันพนักงาน (EE) ความผูกพันในงาน (WE) และความผูกพันองค์การ (OC) และศึกษาวิธีการที่แตกต่างกันสำหรับการตรวจสอบความทับซ้อน รวมทั้งตรวจสอบรูปแบบโมเดลสมการโครงสร้างด้วยแนวคิดโมเดลการวัดแบบก่อตัว (Formative measurement model: FMM) และโมเดลการวัดแบบส่งผลสะท้อน (Reflective measurement model: RMM) โดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกรมการพัฒนาชุมชน และบริษัท Central plaza hotel public company limited ในส่วนของธุรกิจโรงแรม จำนวน 596 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีพิสัยค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.780 ถึง 0.891 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (CCA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. รายละเอียดกรอบเนื้อหาของภาวะสันนิษฐานความพึงพอใจในงาน ความผูกพันพนักงาน ความผูกพันในงาน และความผูกพันองค์การโดยเน้นที่นิยามของภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีบางส่วนของนิยามที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งด้านผลประโยชน์ที่ได้รับจาก การปฏิบัติงาน ด้านความรู้สึกชอบ พอใจ หรือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน 2. การตรวจสอบความทับซ้อนสามารถสรุปผลการศึกษาในแต่ขั้นตอนการตรวจสอบได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบการทับซ้อนเชิงเนื้อหาพบว่า นิยามบางส่วนของภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 มีการทับซ้อนเชิงเนื้อหา และเมื่อทำการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter rater agreement: IRA) โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือข้อคำถามแต่ละข้อมักสะท้อนถึงภาวะสันนิษฐานได้มากกว่า 1 ภาวะสันนิษฐาน รวมทั้งการตรวจสอบ ค่าสหสัมพันธ์ของงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 มักมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หรือ 0.01 และมีการนำภาวะสันนิษฐานเหล่านี้ไปศึกษา เชิงเหตุผล ทั้งนี้ตัวแปร OC มักอยู่ในสถานะของตัวแปรผล ในขณะที่ตัวแปร JS มักเป็นตัวแปรเหตุ ส่วนตัวแปร EE และ WE มีทั้งสถานะที่เป็นเหตุ และผล ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบการทับซ้อนเชิงประจักษ์ กระทำโดยการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ค่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อทำการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง เชิงจำแนก (Discriminant validity) และความเที่ยงตรงเชิงการรวมตัว (Convergent validity) โดยการวิเคราะห์ EFA และ CFA พบว่า ภาวะสันนิษฐานทุกคู่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ความเที่ยงตรงเชิงจำแนกนั้นเกิดขึ้นเฉพาะกับคู่ของภาวะสันนิษฐานที่มี OC ประกอบเท่านั้น ส่วนการตรวจสอบการทับซ้อนโดยการวิเคราะห์ CCA พบว่า ภาวะสันนิษฐานทุกคู่ที่นำมาวิเคราะห์มีค่าการทับซ้อน (Rd) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างน้อย 1 คู่ นอกจากนี้เมื่อทำการตรวจสอบ Monological network โดยการตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์ของภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 กับความสอดคล้องระหว่างมุมมองของพนักงาน และองค์การ (Organizational fit: FIT) พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ของภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 กับ FIT ในโมเดลสมมติฐาน และโมเดลทางเลือก ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ และประการสุดท้ายเมื่อตรวจสอบ Cross-loading โดยการวิเคราะห์ CFA ตามโมเดลสมมติฐาน และโมเดลทางเลือกอีก 4 โมเดล พบว่า ทุกโมเดลมีการ Cross-loading เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 เส้น 3. การตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของภาวะสันนิษฐานทั้ง 4 ด้วยแนวคิด FMM และ RMM พบว่า โมเดลทางเลือกที่นำเสนอมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับการยอมรับได้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยที่โมเดลที่มีลักษณะเป็น FMM ในภาวะสันนิษฐาน JS และ OC จะมีค่า Weight ซึ่งน้อยกว่าค่า Loading ในรูปแบบที่เป็น RMM | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความพอใจในการทำงาน | |
dc.subject | การวัดทางจิตวิทยา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์?aปริญญาเอก | |
dc.subject | ความผูกพันต่อองค์การ | |
dc.title | การตรวจสอบความทับซ้อนกันของภาวะสันนิษฐานทางจิตวิทยาในบริบทของการวิจัยเชิงพฤติกรรมองค์การ : กรณีศึกษาภาวะสันนิษฐานความพึงพอใจในงานความผูกพันพนักงาน ความผูกพันในงาน และความผูกพันองค์การ | |
dc.title.alternative | An investigtion into the construct redundncy of psychologicl constructs in context of orgniztionl behvior reserch :b cse study of job stisfction, employee enggement, work enggement nd orgniztionl commitment | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research was aimed to study details of psychological constructs regarding job satisfaction (JS), employee engagement (EE), work engagement (WE) and organizational commitment (OC). It also studied the methods can be used to investigate the redundancy of constructs. Additionally, structural equation modeling was analyzed with Formative measurement model (FMM) and Reflective measurement model (RMM). A sample was 596 participants from Community Development Department and Central Plaza Hotel Public Company Limited (hotel business function). A research tool had the validity ranged from 0.780-0.891. Data were analyzed by basic statistics, exploratory factor analysis (EFA), confirmatory factor analysis (CFA), canonical correlation analysis (CCA) and structural equation modeling (SEM). The research results were as follows. 1. An analysis of definitions of job satisfaction, employee engagement, work engagement and organizational commitment constructs were found that some definitions were similar to each other regarding benefits from work and satisfaction of organizational team. 2. An analysis of the construct redundancy can be summarized as follows. Step 1. The investigation of content redundancy was found that the definitions of four constructs were partially redundant. An inter rater agreement (IRA) analysis revealed that the experts comprehensively agree that each question tended to reflect more than one construct variables. A correlation analysis of existing research indicated that four construct variables were correlated with a level of statistical significance at 0.05 or 0.01. Additionally, four constructs were studied with cause and effect analysis in which organizational commitment tended to be an effect variable, job satisfaction tended to be a cause variable while employee engagement and work engagement displays both cause and effect variables. Step 2. The investigation of empirical redundancy was done made by correlation coefficients. The four constructs statistically correlated at a level of 0.01. An analysis of Discriminant validity and convergence validity by EFA and CFA showed that paired constructs could be separated from each other, at a level of statistical significance at 0.01. However, the Discriminant validity was observed only with OC-based pairs. An analysis of the construct redundancy by CCA was found that at least one pair was redundant (Rd), at a level of statistical significance at 0.01. In addition, an analysis of monological network by the correlation of the four constructs and Organizational fit (FIT) showed that they were not statistical different. Lastly, a Cross-loading analysis by CFA found that at least one line of Cross-loading was found in every model. 3. A correlation investigation of structural equation modeling of four construct by FMM and RMM showed that all three selected alternative models was consistent with empirical data at the acceptable level. The FMM-based model regarding job satisfaction and organizational commitment constructs showed weight score less than loading score when compared to the RMM-based model. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 11.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น