กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7505
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of internl cdemic model of schools under The Office of Secondry Eductionl Service Are 18 Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
ชัยพจน์ รักงาม
ณัฐชา จันทร์ดา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การนิเทศการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี ประชากร (ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี) ทำการศึกษายกร่างต้นแบบจากแบบสำรวจรายการ (Check list) แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) แนวคิด ทฤษฎี และการถอดบทเรียนโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best practice) ด้านสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นเลิศ จำนวน 2 โรงเรียน และประเมินผลการใช้รูปแบบจากโรงเรียนที่ทำการทดลองใช้ “คู่มือ การนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา Janda model: CBAPAD” จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนอุทกวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรีใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed methodology) โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา ฯ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา ฯ ระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา ฯ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified priority needs index: PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความต้องการจำเป็นการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี ตามความเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวม พบว่า เมื่อเรียงอันดับตามค่าเฉลี่ย 3 ด้าน จากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2. รูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (คู่มือการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา Janda model: CBAPAD) มี 6 โมดูล ได้แก่ 1) Coaching and mentoring: ชี้แนะ สอนงาน 2) Budget: สนับสนุนงบประมาณ 3) Action: ปฏิบัติการ 4) Presentation: นำเสนอผลงาน 5) Assessment: ประเมินผลงาน 6) Dissemination: เผยแพร่ผลงาน ตามลำดับ 3. ผลจากการประเมินรูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ฯ (คู่มือ ฯ) ที่ได้จากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สอดคล้องและเป็นแนวทางเดียวกันในด้านความสำเร็จของการนำไปใช้ “มากที่สุด” นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7505
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น