กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7502
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.advisorเกรียงศักดิ์ บุญญา
dc.contributor.authorนิรุตต์ บุตรแสนดี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:02:34Z
dc.date.available2023-05-12T04:02:34Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7502
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการวิเคราะห์ทฤษฎี งานวิจัยและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม โดยการศึกษาดูงานวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษาที่เป็นต้นแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 2 แห่ง และการตรวจสอบรูปแบบการจัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลักและ 19 องค์ประกอบย่อย คือ 1) องค์ประกอบหลักด้านการจัดระบบโครงสร้างการบริหาร มีองค์ประกอบย่อย จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลักด้านการบริหารงานวิชาการ มีองค์ประกอบย่อย จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบหลักด้านการบริหารบุคลากร มีองค์ประกอบย่อย จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบหลักด้านการพัฒนาผู้เรียน มีองค์ประกอบย่อย จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 5) องค์ประกอบหลักด้านการฝึกอาชีพ มีองค์ประกอบย่อย จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ และ 6) องค์ประกอบหลักด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีองค์ประกอบย่อย จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ได้นำผลการศึกษาดูงานและจัดการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รูปแบบและคู่มือรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3. ผลการทดลองใช้และการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานของวิทยาลัยที่ทดลองใช้รูปแบบตามคู่มือ ผลการประเมินประสิทธิผลในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.81) มีการจัดระบบโครงสร้างการบริหาร อยู่ในระดับดีมาก (5.00) การบริหารบุคลากรอยู่ในระดับดีมาก (5.00) การฝึกอาชีพ อยู่ในระดับดีมาก (5.00) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อยู่ในระดับดีมาก (5.00) การบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับดีมาก (4.50) และการพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับดี (4.40) ตามลำดับ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, SD = 0.74) ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.23-4.36 องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการจัดการระบบโครงสร้างการบริหาร ( = 4.36, SD = 0.66) รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการพัฒนาผู้เรียน ( = 4.35, SD = 0.83) สำหรับองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการบริหารบุคคล ( = 4.23, SD = 0.82)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectอาชีวศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพ -- การบริหาร
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectการพัฒนาการศึกษา
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพ -- การจัดการ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
dc.title.alternativeThe ppliction of prticiptory ction reserch in developing dul voctionl eduction mngement model leding to the effectiveness of schools under The Voctionl Eduction Commission
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study is a Mixed-method research applying the participatory action research approach 1) to study components of the dual vocational education management model that could lead to the effectiveness of schools under the Vocational Education Commission, 2) to develop the dual vocational education management model that could lead to the effectiveness of the schools, and 3) to try out and evaluate the use of the new dual vocational education management model. This study is divided into 3 phrases. The first phrase studies the components of the model which could lead to the effectiveness of the schools under the Vocational Education Commission through the use of the participatory action research approach. The researcher analysed relating theories, research and documents as well as developed a questionnaire surveying the components of the dual vocational education management model that could lead to the effectiveness of schools under the Vocational Education Commission. Statistics used for analysing the data in this phrase included percentage, Mean, Standard Deviation and Confirmatory factor analysis. The second phrase aims at developing the model through the use of the participatory action research approach. The researcher paid a visit to 2 successful vocational schools which were acknowledged as the two best vocational schools employing the dual vocational education management model. The researcher also reviewed his findings by arranging a focus group discussion inviting experts having experiences in vocational administration to share their viewpoints and opinions. The third phrase of this study includes the implementation and evaluation work to see how the developed model may work. This study reports that 1. The dual vocational education management model that could lead to the effectiveness of schools under the Vocational Education Commission includes 6 major components and 19 indicators. The 6 major component are 1) Administrative structure component encompassing 5 indicators, 2) Academic administration component including 2 indicators, 3) Human resource management component comprising of 2 indicators, 4) Student development component consisting of 5 indicators, 5) Apprenticeship component having 2 indicators, and 6) Participation in school management component containing 3 indicators. 2. The researcher could, in this study, develop the dual vocational education management model that lead to the effectiveness of schools under the Vocational Education Commission and its manual through the participatory action research approach. The model and manual were developed based on the data which the researcher obtained during the time he paid a visit to the schools and from organizing the focus group discussion among the experts. 3. After the implementation of the new dual vocational education management model, the overall school effectiveness was found at a high level (4.81). The Administrative structure component was found at the high level (5.00). The average score of the Human resource management component, the Apprenticeships component and the Participation in school management component were equally found at the highest (5.00), while the Academic administration component and the Student development component were found at a high level (4.50 and 4.40) respectively. In addition, this study reports that the overall satisfaction level of the stakeholders was rated at a high level ( = 4.32, SD = 0.74). When considering each major component, the stakeholder rated number one for The Administrative structure component ( = 4.36, SD = 0.66), then Student development component ( = 4.35, SD = 0.83). The lowest score was rated for the Human Resource Management component. ( = 4.23, SD = 0.82).
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น