กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/75
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการอาสาสมัครกับการเรียนรู้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งระยะที่ 1 และ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of learning of the constitution and general election project during June 1999-March 2000
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
สุชาดา กรเพชรปาณี
มนตรี แย้มกสิกร
สมโภชน์ อเนกสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเลือกตั้ง - - ไทย
ประชาธิปไตย - - ไทย
รัฐธรรมนูญ - - ไทย
สาขาการศึกษา
โครงการอาสาสมัครกับการเรียนรู้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง - - การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการอาสาสมัครกับการเรียนรู้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ดำเนินการโดยทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานอาสาสมัครรัฐธรรมนูญกับประชาชนในชุมชน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 ถึงเดือนมีนาคม 2543 การวิจัยเรื่องการประเมินโครงการอาสาสมัครกับการเรียนรู้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ระยะที่ 1 และ 2 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลและผลกระทบของโครงการอาสาสมัยครกับการเรียนรู้รัฐธรรมนูญการเลือกตั้ง ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ไม่เอื้อให้เกิดผลดีต่อประชาธิปไตยและการดำเนินงานตามโครงการฯ ตลอดจนแสวงหาแนวทางที่จะช่วยให้โครงการในลักษณะเช่นนี้เกิดผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต วิธีการประเมินใช้สองรูปแบบร่วมกัน คือ รูปแบบ"จากบนสู่ล่าง" และรูปแบบ "จากล่างสู่บน" กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้ประสานงานอาสาสมัครรัฐธรรมนูญ (ปอร.) อาสาสมัครรัฐธรรมนูญ (อสร.) และประชาชนทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า โครงการอาสาสมัครกับการเรียนรู้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ได้ผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ทั้งในด้านการส่งเสริมประชาชนในเขตเลือกตั้งมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง มีเจตคติที่ดีต่อระบอบประชาธิปไตย มีความสามารถตัดสินใจทางการเมืองด้วยตนเอง และมีทักษะการลงคะแนนเลือกตั้งระบบใหม่ นอกจากนี้โครงการฯ ยังทำให้บัณฑิตและผู้มีคุณวุฒิ ปวส.ที่ว่างงาน รวมทั้งผู้ถูกเลิกจ้างได้มีงานทำ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง สามารถร่วมกับประชาชนในชุมชน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งร่วมกับชุมชน ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน(ปอร. และ อสร.) ได้เรียนรู้สภาพชุมชน มีทักษะการทำงานเป็นหมู่คณะ และมีเจตคติที่ดีต่อประชาชน ส่วนปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานมีเพียงเล็กน้อย ได้แก่เรื่องการแระสานงานล่าช้าและงบประมาณไม่เพียงพอ เป็นต้น อย่างไรก้ตาม ทั้งผู้ปฏิบัติงานในโครงการฯ และประชาชนทั่วไป มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการดำเนิน โครงการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจประชาธิปโตย และมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกระทั่งประชาธิปไตยกลายเป็นวิถีชีวิตของประชาชน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/75
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2544_007.pdf26.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น